เทศกาลศิลปวัฒนธรรม จากหิมาลัยสู่เจ้าพระยา

เทศกาลศิลปวัฒนธรรม จากหิมาลัยสู่เจ้าพระยา

Author : SNF

ถ้ามองในแง่ภูมิศาสตร์ประเทศไทยกับธิเบตอยู่ห่างไกลกันลิบลับไม่มีความเกี่ยวข้องกันในทางประวัติศาสตร์ แต่หากมองในด้านวัฒนธรรมความเชื่อ ไทยและธิเบตมีส่วนที่เชื่อมโยงถึงกันได้ด้วยเป็นประเทศที่นับถือพุทธศาสนาเหมือนกัน อีกทั้งธิเบตมีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมประเพณีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่มีความงดงามโดดเด่น ชาวธิเบตเป็นชาวพุทธผู้อ่อนโยน มีศรัทธาต่อศาสนาอย่างลึกซึ้งมั่นคง ด้วยเหตุนี้มูลนิธิเสฐียรโกเศศ – นาคะประทีปร่วมกับองค์กรภาคีจึงได้จัดเทศกาลศิลปวัฒนธรรม จากหิมาลัยสู่เจ้าพระยา ในระหว่างวันที่ ๕ – ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๓ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร สี่แยกปทุมวัน กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่วัฒนธรรมธิเบตที่เป็นดั่งวัฒนธรรมของโลกให้สังคมมองเห็นคุณค่า อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ประเพณี ศาสนา ศิลปะ ระหว่างชาวไทยกับชาวธิเบต

ท่ามกลางวัฒนธรรมสมัยใหม่ที่แพร่กระจายไปทั่วทุกมุมโลก วัฒนธรรมประเพณีดั้งเดิมถูกสั่นคลอน ชาวธิเบตพลัดถิ่นเป็นตัวอย่างอันดีที่ยังพยายามรักษาประเพณี วิถีปฏิบัติ และวัฒนธรรมอันงดงาม แม้พวกเขาต้องจากถิ่นฐานเดิมมาเริ่มต้นชีวิตในดินแดนใหม่หากแต่รากฐานวัฒนธรรมเดิมคงแทรกซึมอยู่ในสายเลือด และยังส่งต่อวัฒนธรรมอันดีงามไปยังชนรุ่นหลัง

การจัดงานครั้งนี้แม้จะมีอุปสรรคเป็นระยะ ๆ จนเมื่อก่อนการเปิดงานเล็กน้อยมีกลุ่มชาวจีนจากสมาคมแต้จิ๋วมาประท้วงขับไล่คณะชาวธิเบตที่มาเผยแพร่วัฒนธรรม ประเพณีอันงดงาม ด้วยเข้าใจว่าการจัดงานครั้งนี้เป็นไปเพื่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองของชาวธิเบตซึ่งเกี่ยวเนื่องกับจีนแผ่นดินใหญ่ แต่คณะผู้จัดงานทุกคนมิได้หวั่นไหว เพราะเจตนารมณ์ไม่ได้เป็นไปตามที่พวกเขากล่าวอ้าง คณะผู้จัดงานต้องการให้คนไทยได้ชื่นชมศิลปวัฒนธรรมอันงดงามของชาวธิเบต ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดการแสดงทางวัฒนธรรมธิเบตในเมืองไทย

สำหรับเนื้อหาและรายละเอียดของงานก็ล้วนเกี่ยวเนื่องกับศิลปวัฒนธรรมของชาวธิเบตและการแสดงของชนเผ่าทางเหนือของไทย โดยแบ่งภาพงานออกเป็น ๒ ส่วน คือ นิทรรศการและการสาธิตกับการแสดงวัฒนธรรมและดนตรี อาทิ

๑. การวาดภาพทรายมันดาลาของพระสงฆ์ ซึ่งเป็นรูปแบบการฝึกจิตอย่างหนึ่ง การสร้างมันดาลาบางครั้งพระสงฆ์จะท่องมนตราและแผ่เมตตา ผู้สร้างต้องมีสมาธิแน่วแน่ การสร้างเริ่มจากจากรูปทรงเรขาคณิตแบบง่าย ๆ และค่อย ๆ เพิ่มรายละเอียดจนเป็นรูปมันดาลาสามมิติที่สมบูรณ์งดงาม ปริศนาธรรมที่แฝงมาในมันดาลาคือ ไม่ว่าจะสมบูรณ์สวยงามหรือมั่นคงเพียงใด สุดท้ายก็ต้องสูญสลายไปตามธรรมชาติ และเมื่อสูญสลายไปแล้วก็จะต้องถูกสร้างขึ้นมาใหม่ เพราะความมีอยู่ทำให้เกิดความว่าง และความว่างก็เป็นบ่อเกิดของความมีอยู่ ตามหลักไตรลักษณ์ในพุทธศาสนาสอนไม่ให้ติดยึดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

๒. รูปปั้นเนย เป็นรูปแบบการบูชาอันเก่าแก่ของชาวธิเบต ส่วนใหญ่จะปั้นในงานเทศกาลมอลลัมและพิธีกรรมทางศาสนาอื่น ๆ รูปปั้นเนยมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นแฝงไปด้วยศิลปะที่งดงาม

๓. ภาพวาดทังก้า เป็นพุทธศิลป์ขั้นสูงของธิเบต ทังก้าคือภาพวาดเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ และปริศนาธรรม หรือเรื่องราวที่เกี่ยวเนื่องทางศาสนา ทังก้ามีความสำคัญต่อชาวธิเบตเมื่อพวกเขาโยกย้ายถิ่นฐานจะพกพาทังก้าติดตัวไปด้วยเสมอ การวาดทังก้าต้องใช้สีจากแร่ธาตุธรรมชาติ ต้องมีความอดทนกว่าจะได้ภาพทังก้าแต่ละผืนและภาพทังก้ามีอายุยาวนานนับร้อยปี

๔. นิทรรศการเกี่ยวกับวิถีชีวิตชาวธิเบต ภาพพระราชกรณียกิจของทะไลลามะ และภาพคนชราธิเบต นิทรรศการภาพทั้งสามส่วนนี้บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นธิเบตโดยใช้ภาพเล่าเรื่องประกอบคำบรรยายสั้นๆ เพื่อให้ผู้ชมได้ถักทอเรื่องราวเหล่านั้นด้วยตนเอง

๕. นิทรรศการและการตรวจรักษาการแพทย์แผนธิเบต ซึ่งเป็นภูมิปัญญาการดูแลสุขภาพของชาวธิเบตอย่างเป็นองค์รวม แฝงไว้ด้วยพุทธปรัชญา การแพทย์แผนธิเบตให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตเพื่อความมีสุขภาพที่ดี ยาเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ทำให้หายจากโรค ถ้าเพียงแต่กินยาแต่ไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรักษานั้นก็จะไม่ได้ผลเต็มที่ เป็นต้น

ส่วนในภาควัฒนธรรมและดนตรีจากสถาบันศิลปะการแสดงธิเบตหรือ Tibetan Institute of  Performing Arts (TIPA) ซึ่งเป็นองค์กรทางวัฒนธรรมในต่างแดนที่เก่าแก่องค์กรหนึ่ง ตั้งอยู่ในเมืองธรรมศาลา ประเทศอินเดีย ได้นำชุดการแสดงทางศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ อาทิ

Shanak : ระบำหมวกดำ

ระบำหมวกดำคือพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่แสดงในธิเบตโดยใช้เวลาหลายวัน มีจุดมุ่งหมายเพื่อขจัดอุปสรรคกีดขวางความสุข ซึ่งหมายถึงความเศร้าหมองและความไม่รู้ถึงสาเหตุแห่งทุกข์ที่อยู่ในตัวของแต่ละบุคคล เมื่อเริ่มการแสดง ผู้เต้นระบำหมวกดำจะหลั่งน้ำพุทธมนต์ (ชาดำ) ถวายต่อลามะ เทพเจ้าที่คอยปกปักรักษา (รูปลักษณ์ต่าง ๆ ของพระพุทธเจ้า) และธรรมบาล (ผู้รักษาสัจธรรม) เพื่อสร้างความพึงพอใจให้แก่ท่านเหล่านั้นและเพื่อจะได้รับการอวยพรกลับมา จากนั้นผู้เต้นรำจะเชิญมิตรสหายกับผู้ติดตามของเหล่าธรรมบาลเข้ามาร่วมเต้นรำ

Kongpoi Dha lu

จังหวัดกงโป (Kongpo) ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของธิเบต เป็นที่รู้จักว่ามีพื้นที่ป่าเขียวชอุ่มและพืชพรรณหนาแน่น นอกจากทักษะด้านธรรมชาติแล้ว ชายชาวพื้นเมืองในแถบนี้ยังมีชื่อเสียงด้านความสามารถในการยิงธนู ส่วนผู้หญิงมีชื่อในด้านความงาม

Domey Tserik

ระบำชนิดนี้เป็นที่นิยมในเมืองโซงน  (Tso Ngon) และเมืองลาบรัง (Labrang) ของจังหวัดโดเมะแห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือของธิเบต ผู้แสดงระบำทั้งชายและหญิงจะสร้างความเบิกบานให้ตนเองด้วยการยอมรับความดีงามและความเมตตาจากกันและกันผ่านเสียงดนตรีและถ้อยคำ

Lhokhag Trangoe Dro Dhung

โดยทั่วไป โดรทุงมักแสดงในโอกาสพิเศษและเป็นมงคลเพื่อนิมิตหมายอันดี เช่น ในระหว่างพระราชพิธีสถาปนาองค์ทะไลลามะขึ้นครองราชสมบัติ ระบำชุดพิเศษนี้มาจากภาคใต้ของธิเบต

Yak Dance : (ระบำจามรี)

จามรีเป็นสัตว์พื้นเมืองที่สำคัญที่สุดของธิเบต ระบำจามรีนี้มีรากมาจาก อุปรากรธิเบตเรื่อง โดรวา ซังโม (Drowa Sangmo) สะท้อนถึงพัฒนาการความผูกพันอย่างลึกซึ้งระหว่างชาวธิเบตกับจามรี จามรีตัวเมียหรือที่เรียกในภาษาธิเบตว่า -ดรี- จะหลั่งน้ำนมเพื่อเตรียมทำเนย จากนั้นมันจะร้องเพลงเพื่อถวายเนยสดแด่องค์ทะไลลามะ                การฟ้อนโต ของชาวไตจากภาคเหนือของไทย โตเป็นสัตว์ที่มีส่วนผสมของสัตว์ห้าชนิด ฟ้อนโตเป็นการแสดงออกถึงความรื่นเริงสนุกสนาน และการเป่าเตหน่าและขับลำนำของชาวปกากะญอจากภาคเหนือของไทยเช่นกัน เป็นต้น

การจัดเทศกาลศิลปวัฒนธรรมจากหิมาลัยสู่เจ้าพระยาเรื่องราวได้รับทราบไปถึงองค์ทะไลลามะพระองค์ได้ส่งสาส์นอำนวยพรมายังคณะผู้จัดและชาวไทยทุกคน เพื่อแสดงความขอบใจต่อการจัดงานเผยแพร่วัฒนธรรมธิเบตในประเทศไทย และในวันสุดท้ายของงานพระองค์ยังได้ส่งสาส์นมาอีกฉบับหนึ่งถึงชาวธิเบตและชาวไทย โดยมีสาระสำคัญดังนี้ ทรงขอให้ชาวธิเบตรักษาวัฒนธรรม ปกป้องอัตลักษณ์ความเป็นธิเบตและรักษาความเป็นมิตรกับชนชาติอื่น พยายามใช้สันติวิธีในการแก้ปัญหา ทรงเห็นว่าเยาวชนควรจะได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง ทรงยืนยันต่อรัฐบาลจีนว่าทรงยึดนโยบายทางสายกลางอันเป็นไปตามข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญของจีนและขอสิทธิในการปกครองตนเองแก่ธิเบตในด้านวัฒนธรรม ภาษา และเอกลักษณ์ความเป็นธิเบต หากธิเบตได้รับอิสรภาพ

ทะไลลามะและผู้บริหารในคณะรัฐบาลพลัดถิ่นจะไม่ขอรับตำแหน่งทางการเมืองใด ๆ และปัญหาระหว่างจีนกับ

ธิเบตถึงที่สุดแล้วต้องเป็นการตกลงในระหว่างสองชาติ ทรงเน้นย้ำให้ชาวธิเบตทุกคนรักษาความเป็นมิตรกับชาวจีนทุกคนเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก

การแสดงศิลปวัฒนธรรมได้สร้างความประทับใจแก่ผู้ชมชาวไทยจนบางคนน้ำตาคลอด้วยความปลื้มปีติ หลังจบการแสดงทุกคนเดินออกมาอย่างมีความสุข ไม่มีใครเลยที่บอกว่าการแสดงเหล่านี้ไม่น่าสนใจ

ถึงแม้กำหนดการจัดงานเทศกาลศิลปวัฒนธรรมจากหิมาลัยสู่เจ้าพระยาจะสิ้นสุดในวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๕๓ แต่ในวันที่ ๑๑ มีนาคม มีพิธีการทำลายทรายมันดาลาที่พระสงฆ์ได้บรรจงสร้างขึ้นมาอย่างประณีต พิธีเริ่มจากพระสงฆ์ธิเบตสวดมนต์ประมาณครึ่งชั่วโมง ในพิธีนี้มีชาวไทยมาร่วมด้วยจำนวนมาก ทุกคนนั่งพนมมือ บ้างก็นั่งหลับตาทำสมาธิขณะที่พระสงฆ์ก็สวดมนต์ไปด้วย เมื่อจบจากการสวดมนต์ จากนั้นพระธิเบตรูปหนึ่งเดินเวียนขวารอบภาพทรายมันดาลาพร้อมกับหยิบทรายจากใจกลางมันดาลาใสถ้วยที่เตรียมไว้ ต่อมาได้ใช้วัชระขีดจากใจกลางมันดาลาออกมาจนสุดขอบครั้งแรกขีดเป็นสี่เส้น แล้วก็ขีดเพิ่มอีกเป็นแปดเส้นและเพิ่มขึ้นอีก เหมือนตัดแบ่งเค้ก ขณะพระกำลังทำลายมันดาลาบางคนอุทานออกมาว่าเสียดายที่ภาพสวย ๆ กำลังจะถูกทำลาย จากนั้นพระสงฆ์ช่วยกันกวาดทรายไปกองรวมกันตรงกลาง แล้วแบ่งออกเป็นสองส่วน ส่วนแรกตักใส่โถเพื่อจะนำไปโปรยที่แม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนที่สองแบ่งให้สาธุชนที่มาร่วมพิธีรับไปเป็นที่ระลึก การนำทรายมันดาลาไปโปรยลงแม่น้ำเจ้าพระยาได้เลือกสถานที่บริเวณสวนสาธารณะสันติชัยปราการ เพื่อเชื่อมโยงจากหิมาลัยสู่เจ้าพระยา สถานที่โปรยทรายมีความหมายในทางมงคลเพื่อสันติแก่มวลมนุษย์และสรรพสัตว์ เมื่อโปรยทรายเสร็จพระสงฆ์ได้ตักน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยามาชำระล้างภาพลายเส้นมันดาลา เป็นอันเสร็จพิธีอย่างสมบูรณ์และงดงาม

ก่อนหน้าการจัดเทศกาลศิลปวัฒนธรรมจากหิมาลัยสู่เจ้าพระยา ได้มีการจัดเทศกาลภาพยนตร์ธิเบตขึ้นระหว่างวันที่ ๑๖ – ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๓ ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกัน เทศกาลภาพยนตร์ธิเบตเป็นการฉายภาพยนตร์เพื่อบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับธิเบตผ่านภาพยนตร์และสารคดี พร้อมทั้งมีเวทีเสวนา วิจารณ์ สะท้อนแนวคิดจากเนื้อหาของภาพยนตร์แต่ละเรื่อง โดยบุคคลที่มีความเข้าใจเรื่องราวของภาพยนตร์ เช่น ภิกษุณีธัมมนันทา จีระนันท์ พิตรปรีชา เป็นต้น ภาพยนตร์ที่ฉายประกอบด้วย

(1) Unmistaken Child      (2) Kundun      (3) Tibet : Cry of the Snow Lion      (4) Himalaya

(5) The Tibet book of the dead       (6) Dreaming Lhasa      (7) Windhouse       (8) The cup

การจัดเทศกาลเกี่ยวกับธิเบตทั้งที่เป็นภาพยนตร์และศิลปวัฒนธรรมมีผู้ให้ความสนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศมาเยี่ยมชมและสนับสนุนกิจกรรมกันอย่างล้นหลาม จึงถือได้ว่าการจัดกิจกรรมครั้งนี้บรรลุวัตถุประสงค์ ผู้ชมได้รับสาระประโยชน์กันทุกคน แม้งานจะสิ้นสุดแต่เรื่องราวเกี่ยวกับธิเบตต่อการรับรู้ของชาวไทยคงจะไม่จางหายไป

แด่ YONEO ISHII

แด่ YONEO ISHII

Author : ส.ศิวรักษ์

แต่ปลายปีที่แล้วเป็นต้นมา ข้าพเจ้าสูญเสียเพื่อนรักไปเรื่อยๆ อย่างเกือบจะต่อเนื่อง นับว่าน่าเศร้า แต่ก็ต้องถือว่าในวัย 77 อย่างข้าพเจ้า เพื่อนร่วมรุ่นก็ต้องละโลกไปโดยขัยและวัย ตามพระอนิจลักษณะ คนแรกที่จากไปคือ ฯพณฯ อับดุลาราห์มาน วาหิต อดีตประธานาธิบดี อินโดนีเซีย วัย 69 ปี (วันที่ 30 ธันวาคม 2552) คนถัดมาคือ ยอช วิลโลบี้ นักสันติวิธีชาวอเมริกัน วัย 95 ปี (วันที่ 5 มกราคม 2553)  คนที่สามได้แก่ นิโคลัส เบนเนต ชาวอังกฤษ ซึ่งมีอายุเท่าๆ กับข้าพเจ้า (วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2553) และแล้วเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์นี้  ศาสตราจารย์เยนิโอ อิฉิอิ ก็เพิ่งดับสังขารไปในตอนตี 2 ณ ประเทศญี่ปุ่น

อาจารย์อิฉิอิ เป็นเพื่อนญี่ปุ่นคนแรกของข้าพเจ้า และดีกับข้าพเจ้าตลอดมา เป็นเวลาเกือบกึ่งศตวรรษ นอกเหนือไปจากคุณูปการของเขาที่มีต่อไทยคดีศึกษา และบทบาทของเขาในวงวิชาการด้านเอเชียอาคเนย์ศึกษา ทั้งนี้โดยไม่จำต้องเอ่ยถึงความรักและเข้าใจวัฒนธรรมไทย ซึ่งอาจมีมาแต่อดีตชาติก็ยังได้ เพราะเขาอยากมาเมืองไทย และอยากศึกษาภาษาไทยตั้งแต่วัยเยาว์ อุตส่าห์ไปสมัครเข้ากระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่นด้วยการสอบแข่งขันได้เป็นอย่างดี และเมื่อเข้าไปทำงานแล้ว เจ้านายก็รักใคร่ โดยแลเห็นความสามารถของเขา ตลอดจนความแนบเนียนทางการทูต จึงเรียกเขาไปถามความสมัครใจ ว่าอยากไปอยู่สถานทูตแห่งใด โดยที่สมัยหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นเริ่มลืมตาอ้าปากได้อีกแล้ว และมีสถานทูตในประเทศต่างๆ มากขึ้นแล้ว ผู้บังคับบัญชานึกว่า หนุ่มอิฉิอิคงอยากไปสหรัฐ หรืออังกฤษ แต่เขาบอกว่าอยากไปเมืองไทย เล่นเอาเจ้านายแปลกใจไปตามๆ กัน

เมื่อเขามาประจำอยู่ ณ สถานทูตญี่ปุ่นในกรุงเทพฯ เขาขออนุญาตเข้าเรียนภาษาไทย ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนได้เป็นศิษย์คนโปรดของพระยาอนุมานราชธน ดังเมื่อเราจัดงาน 100 ปีชาตกาลของท่าน อาจารย์อิฉิอิช่วยให้เราได้เอานิทรรศการเกี่ยวกับชีวิตและผลงานของท่านเจ้าคุณไปแสดง ณ พิพิธภัณฑ์สถานชาติพันธุ์อันทันสมัยที่สุด ณ นครโอซาก้า โดยอาจารย์อิฉิอิรับแสดงปาฐกถาสดุดีปิยาจารย์ของเขาด้วย

อาจารย์อิฉิอิเห็นว่า ถ้าจะรู้จักวัฒนธรรมไทยดี จำต้องบวชเรียนสักหนึ่งพรรษา เฉกเช่นชาวไทย เขาต้องการไปบวชที่สวนโมกข์ หากท่านอาจารย์พุทธทาสตอบจดหมายเขาว่า การบวชเพียงพรรษาเดียว หาวัดดีๆ ที่ในเมืองกรุงก็ได้ เขาจึงได้ไปบวชที่วันบวรนิเวศในปี พ.ศ. 2500 ได้ทันเฝ้าสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ แม้จะไม่ได้ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ แต่ก็ตรัสถามถึงพระญี่ปุ่นอยู่เนืองๆ

อาจารย์อิฉิอิไม่ต้องการเอาดีทางการทูต จึงลาออกจากราชการ ไปเรียนต่อจนได้เป็นอาจารย์ ณ มหาวิทยาลัยเกียวโต จนได้เป็นผู้อำนวยการสถาบันเอเชียอาคเนย์ศึกษาที่นั่น โดยมีส่วนสร้างบุคลากรที่นั่น และหอสมุดแห่งนั้น จนมีชื่อเสียงในระดับโลก อย่างน้อยก็ไม่แพ้มหาวิทยาลัยคอแนล ของสหรัฐ

เขามาขอให้ภรรยาข้าพเจ้าแห่งร้านศึกษิตสยามช่วยหาหนังสือไทยดีๆ ให้หอสมุด รวมทั้งภาษาพม่า ภาษาลาว ภาษาเขมร และต่อมาภรรยาข้าพเจ้าแนะให้เขาไปหาซื้อหนังสืองานศพจากนายจรัส พิกุล ได้ไปเป็นจำนวนมาก จนเขาต้องขอยืมบรรณารักษ์จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และบรรณารักษ์จากธนาคารกรุงเทพ ผลัดกันไปช่วยจัดระเบียบหนังสือภาษาไทยเหล่านี้จนเข้าที่เข้าทาง

ผลงานทางวิชาการของอาจารย์อิฉิอิมีมากทั้งภาษาญี่ปุ่น ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ที่ร่วมงานกับศิษย์ญี่ปุ่น และเพื่อนไทยก็มี

เมื่อหมดวาระตำแหน่ง ผอ. ศูนย์เอเชียอาคเนย์ศึกษาที่มหาวิทยาลัยเกียวโตแล้ว อาจารย์อิฉิอิย้ายไปอยู่โตเกียว แรกทำงานกับมหาวิทยาลัย Sophia แล้วไปเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเล็กๆ นอกราชธานีออกไป หากรับตำแหน่งทางวิชาการในระดับนานาชาติให้รัฐบาลญี่ปุ่นด้วย เช่นเป็นตัวแทนของญี่ปุ่นที่ UNESCO เป็นต้น ตำแหน่งสุดท้าย ได้คุมกองทุนวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ที่ใหญ่ยิ่งมาก หากเขาอ่อนน้อมถ่อมตน อย่างเป็นกันเองกับมิตรสหายและศิษย์หาทุกคน

เขาดีกับข้าพเจ้าและครอบครัวตลอดมา เขาเคยพาข้าพเจ้าเที่ยวญี่ปุ่นด้วยตนเอง แต่เมื่อข้าพเจ้าแรกไปประเทศนั้น (เพราะคำแนะนำของเขาให้ International House of Japanese เชิญไป ดังข้าพเจ้าเขียนเล่าไว้ในสมุดข้างหมอน) ครั้นข้าพเจ้าถามเขาว่า เวลามาเมืองไทย จะให้พาเขาไปที่ไหนบ้าง ทั้งๆ ที่เขาเคยอยู่เมืองไทยมานาน และท่องเที่ยวไปจังหวัดต่างๆ มามากแล้ว เขาบอกว่า เขาไม่เคยไปแม่กลองเลย ทั้งๆ ที่ใกล้กรุงเทพฯ แค่นั้นเอง เพราะเวลานั้นไปแม่กลอง ต้องนั่งรถไฟไปมหาชัย แล้วต้องข้ามฝากไปขึ้นรถไฟอีกต่อ ตกลงข้าพเจ้าพาเขาไปแม่กลอง ได้ล่องเรือเที่ยวดูวัดวาอารามอย่างสมใจ โดยที่บรรยากาศอย่างนี้ได้ปลาสนาการไปหมดแล้ว

การจากไปของอาจารย์อิฉิอิ ย่อมนับเป็นการสูญเสียของข้าพเจ้าและครอบครัว ทั้งเมืองไทยและคนไทยในแวดวงญี่ปุ่นศึกษาและไทยคดีศึกษา ตลอดจนเอเซียศึกษา ย่อมขาดมิตรผู้มีคุณูปการคนสำคัญไปคนหนึ่ง อย่างน่าเสียดายยิ่งนัก

รำลึกถึง นิโคลัส เบนเนตต์ ครูผู้สอนถึงชีวิต การต่อสู้ และอหิงสธรรม

รำลึกถึง นิโคลัส เบนเนตต์ ครูผู้สอนถึงชีวิต การต่อสู้ และอหิงสธรรม

Author : พระไพศาล วิสาโล

ย้อนหลังไปเมื่อ 3 ทศวรรษก่อน ในช่วงที่อาตมาแทบไม่ได้เข้าห้องเรียนเลย (ตลอด 4 ปีครึ่งในมหาวิทยาลัย มีสมุดจดคำบรรยายเพียงเล่มเดียวสำหรับทุกวิชาที่เข้าเรียน) มีบุคคลผู้หนึ่งที่อาตมานับถือว่าเป็นครูได้อย่างสนิทใจ บุคคลผู้นั้นคือ นิโคลัส เบนเนตต์

นิโคลัส เบนเนตต์ เป็นชาวอังกฤษ มาเมืองไทยตั้งแต่ปี 2513 ในฐานะที่ปรึกษาของกระทรวงศึกษาธิการที่อายุเพียง 2๘ ปี ในชั่วเวลาไม่ถึง 2 ปี เขาได้รับการยกย่องในหมู่นักวิชาการและนักศึกษาหัวก้าวหน้าว่าเป็นผู้ที่มี ความคิดเฉียบคมด้านการศึกษา งานเขียนของเขาหลายชิ้นได้รับการตีพิมพ์ในวารสารของปัญญาชนหลายฉบับ เช่น ปาจารยสาร ศูนย์ศึกษาวิทยาสาร

ช่วงนี้เองที่อาตมาได้รู้จักนิโคลัส ผ่านงานเขียนดังกล่าว โดยเข้าใจไปว่าเขาทำงานในต่างประเทศ เขาเขียนหนังสือได้น่าอ่าน ชัดเจน เป็นรูปธรรม และวิพากษ์วิจารณ์การศึกษาไทยอย่างตรงไปตรงมา แต่ก็เสนอทางออกที่น่าสนใจ

อาตมา รู้ในเวลาต่อมาว่าเขาเป็นผู้ที่นิยมสันติวิธี และมีความรู้ในเรื่องนี้อย่างลึกซึ้ง แต่ไม่เคยคิดว่าจะได้มาทำงานกับเขาจนกระทั่งหลัง 6 ตุลา ฯ ตอนนั้นมีนักศึกษาประชาชนกว่าสามพันคนถูกจับด้วยข้อหาร้ายแรงจากเหตุการณ์ นองเลือดที่ธรรมศาสตร์ อีกทั้งยังมีการกวาดล้างคนที่มีความคิดเห็นทางการเมืองต่างจากรัฐบาลอีกหลาย พันคนทั่วประเทศ ขณะที่อีกหลายพันหนีเข้าป่าเพื่อจับอาวุธสู้กับรัฐบาล

อาตมา กับเพื่อนหลายคนทั้งพระและฆราวาสซึ่งห่วงใยในบ้านเมืองว่าจะลุกเป็นไฟหนัก ขึ้น จึงได้ช่วยกันฟื้นฟูกลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคม (ซึ่งตั้งในปี 1๙ แต่ก็เหมือนยุบไปหลัง 6 ตุลา ฯ) โดยได้รับความสนับสนุนจากผู้ใหญ่หลายท่านทั้งในวงการศาสนาและสิทธิมนุษยชน (เช่น สังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ อ.โกศล ศรีสังข์ และอ.โคทม อารียา) ทั้งนี้โดยเน้นหนักการรณรงค์เพื่อนิรโทษกรรมนักโทษ 6 ตุลา ฯ การปกป้องสิทธิมนุษยชน และการสมานไมตรีภายในชาติ

พี่ประชา หุตานุวัตร ซึ่งตอนนั้นบวชพระอยู่ (ขณะที่อาตมายังเป็นนักศึกษาปี 2) รู้จักกับนิโคลัสดี ได้ชักชวนนิโคลัสให้มาเป็นกรรมการกศส. ด้วย นิโคลัสไม่ได้เป็นกรรมการแต่ในนาม แต่ยังเป็นพี่เลี้ยงให้กับผู้ปฏิบัติงานกศส. ซึ่งมีอาตมาเป็นหนึ่งในนั้น พวกเราทำงานกันเต็มเวลาก็ว่าได้โดยอาศัยบ้านพักของนิโคลัสเป็นที่ประชุมทุกอาทิตย์ (ขณะที่สำนักงานตั้งอยู่ที่ถ.ประมวญ) ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้การติดตามสอดส่องจากเจ้าหน้าที่รัฐอย่างใกล้ชิด

ช่วง นี้เองที่อาตมาได้เรียนรู้จากนิโคลัสหลายอย่าง ทั้งในด้านชีวิตและการทำงาน นิโคลัสเป็นคนที่ฉลาดมาก จับประเด็นเร็ว คิดชัดมาก (อ.สุลักษณ์ ศิวรักษ์ เคยกล่าวว่าเท่าที่รู้จักคนมามากมาย ในเมืองไทยมีคนที่หลักแหลมจับประเด็นไวเพียง 3 คน คือ.ป๋วย อึ๊งภากรณ์ ท่านเจ้าคุณประยุทธ์ และนิโคลัส) แต่ในเวลาเดียวกันเขาก็เป็นคนที่สุภาพ อ่อนโยน มีเมตตา แถมยังมีความกล้าอย่างมาก คนที่จะมีคุณสมบัติพร้อมทั้ง 3 ประการ (ฉลาด สุภาพ และกล้าหาญ)อย่างเขานั้นหาน้อยมาก

นิโคลัสเป็น ที่ปรึกษารัฐบาล แต่เขาไม่เคยกลัวตกงาน ความที่เคยเป็นนักเคลื่อนไหวด้านสันติวิธีในอังกฤษบ้านเกิด เขาจึงเป็นเสมือนมันสมองให้กับพวกเราในการทำงานด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นธรรมดาที่ต้องคัดง้างกับรัฐ ตลอด 3 ปีที่เราทำงานภายใต้รัฐบาลเผด็จการและกึ่งเผด็จการ พวกเรามีโอกาสติดคุกตลอดเวลา เช่นเดียวกับนิโคลัสที่มีโอกาสถูกไล่ออกนอกประเทศ แต่การได้อยู่ใกล้ชิดกับนิโคลัส ทำให้พวกเรากล้าที่จะทำงานเสี่ยงคุกตะราง

นิโคลัสอายุมากกว่าอาตมา 15 ปี แต่เขาปฏิบัติกับพวกเราเหมือนเพื่อนยิ่งกว่า ?ผู้ใหญ่?อีกทั้งยังรับฟังความคิดของเรา และพร้อมรับคำติติง เขาจึงเป็นเสมือนครูที่ส่งเสริมให้พวกเรากล้าคิดกล้าตัดสินใจด้วยตัวเอง ขณะเดียวกันมีอุบายในการกระตุ้นให้เราเอาชนะความกลัว เขาพยายามผลักดันให้เราก้าวไปให้ไกลที่สุดจนกว่าจะถึงขีดจำกัดของตัวเอง ซึ่งทำให้พวกเราได้รู้จักตัวเองมากขึ้น จะว่าไปแล้วสถานการณ์บ้านเมืองตอนนั้นก็เป็นใจ แม้ความกดดันจะมีมากแต่มันก็ได้รีดเค้นเอาส่วนที่ดี ๆ ของเราออกมามิใช่น้อย โดยเฉพาะการคิดถึงส่วนรวมมากกว่าตัวเอง พวกเราหลายคนไม่กลัวติดคุกเพราะรู้สึกว่าเล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับสิ่งที่ ผู้อื่นได้ประสบ

อีกอย่างหนึ่งที่อาตมาได้เรียนจากนิโคลัสคือ อหิงสธรรม แม้เขาจะเป็นนักยุทธวิธีด้านสันติวิธีตัวฉกาจ แต่วิถีชีวิตของเขาก็เป็นไปในทางสันติด้วย เขาใช้ชีวิตอย่างสมถะ ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความสุภาพ จริงใจ และยุติธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบ เขาเป็นคนที่เห็นใจเพื่อนมนุษย์มาก (แต่ก็ไม่ใจอ่อนจนตามใจเขา)

เมื่อสถานการณ์บ้านเมืองดีขึ้น ปี 22 นิโคลัสได้ย้ายไปทำงานที่ประเทศเนปาล ที่นั่นเขาได้สร้างคนรุ่นใหม่หลายคน เขาพาคนเหล่านี้ขึ้นเขาไปตามหมู่บ้านกันดารเพื่อช่วยพัฒนาการศึกษาควบคู่กับ การสร้างจิตสำนึก เขาไม่เหมือน ?ผู้เชี่ยวชาญชาวตะวันตก?ทั่วไป เพราะเขาไม่ชอบนั่งวางแผนในห้องแอร์ แต่จะต้องลงพื้นที่และไปอยู่กินกับชาวบ้าน เขาเป็นคนที่อดทนและแข็งแรง สามารถเดินข้ามเขาเป็นลูก ๆ เป็นเวลาหลายวัน พร้อมกับพาเจ้าหน้าที่พื้นเมืองไปด้วย ทราบว่าหลายคนต่อมาได้เป็นแกนนำในขบวนการต่อต้านรัฐบาลเนปาล

นิโคลัส ย้ายไปทำงานให้กับธนาคารโลก แต่เป็นเสมือน ?ขบถ? ที่นั่น เพราะไม่ชอบอยู่วอชิงตัน แต่ลงไปทำงานในอาฟริกาหลายประเทศ และใช้ชีวิตแบบติดดินชนิดหัวหกตีนขวิดอยู่หลายปี จนกระทั่งเริ่มมีอาการเจ็บป่วยทางประสาทกล้ามเนื้อที่เป็นกรรมพันธุ์ พี่ชายเขาตายด้วยโรคนี้หลังจากล้มป่วยไม่นาน แต่นิโคลัสได้ประคองรักษาตัวจนสามารถอยู่ได้นานเกือบ 10 ปี

นิโคลัส เป็นคนที่ถือพุทธ เป็นผู้หนึ่งที่ทำให้อาตมาศรัทธามั่นคงในพระศาสนาและภูมิปัญญาตะวันออก รวมทั้งสันติวิธี ภรรยาของเขาคือมองตาเน็ตก็เป็นครูโยคะคนแรกของอาตมาตั้งแต่ปี 18

แม้ เขาไม่ค่อยสนใจประเพณีพิธีกรรมและการภาวนาในรูปแบบ แต่เขาก็เป็นชาวพุทธที่แท้ที่มั่นคงในหลักการ เขาเตรียมพร้อมรับมือความตายอยู่ทุกขณะ เขามีอาการหนักจนโคม่าเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ และสิ้นลมเมื่อตี 2 ของวันถัดมา สิริรวมอายุได้ 68 ปี

ในหนังสือเรื่อง ?สร้างสันติด้วยมือเรา? ที่อาตมาเขียนตั้งแต่ปี 2532 ได้เขียนคำอุทิศว่า
?แด่ นิโคลัส เบนเนตต์ ครูผู้สอนถึงชีวิต การต่อสู้ และอหิงสธรรม? แม้จนวันนี้อาตมาก็ยังซาบซึ้งในบุญคุณของครูผู้นี้ และจะระลึกถึงตราบชีวิตจะหาไม่

http://www.oknation.net/blog/visalo/2010/02/11/entry-1

แด่นิโคลัส เบนเน็ต

แด่นิโคลัส เบนเน็ต

Author : ส.ศิวรักษ์

นิโคลัส เบนเน็ต เพิ่งตายจากไปเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2010  ณ ประเทศโปรตุเกส คือเขามีบ้านเพื่ออยู่กับมอนตาเน็ต ภรรยาชาวฝรั่งเศสของเขาที่นั่นหลังหนึ่ง สำหรับฤดูร้อน และมีที่ภูเก็ตอีกหลังหนึ่ง เพื่ออยู่เมืองไทยในฤดูหนาว โดยเขาใช้เงินที่ขายบ้านพ่อแม่ ณ ตำบล แฮมสเตด ในกรุงลอนดอน ที่เขาได้รับส่วนแบ่งจากมรดกมาใช้ เพื่อหาความสุขในบั้นปลายชีวิต เมื่อเกษียณอายุออกมาจากธนาคารโลกแล้ว โดยเขามีเวลาภาวนาและทำโยคะแทบทุกวัน

นิโคลัสเป็นคนแปลก ที่แหวกแนวออกจากกระแสหลัก แต่ก็แนบสนิทกับสถาบันกระแสหลักมาเกือบจะตลอดชีวิต แม้เมื่อก่อนเข้ามหาวิทยาลัย เขาก็เดินทางด้วยตัวคนเดียวไปจนติมบักตู ในอาฟริกา อย่างน่าตื่นเต้น ดังเขาเขียนเล่าไว้และได้ตีพิมพ์แล้วด้วย ในหนังสือชื่อ Zigzag to Timbuktu (1963)

เมื่อไปเรียน PPE ที่ออกซฟอร์ด เขาร่วมเดินขบวนคัดค้านการมีอาวุธนิวเคลียร์ของอังกฤษ และถูกจับพร้อมกับเบอทรัน รัสเซล ซึ่งเวลานั้นอายุกว่า 90 แล้ว ในขณะที่นิโคลัสอายุเพิ่งจะย่างเข้า 20

เขาแรกทำงานให้ UNESCO ซึ่งส่งเขามาเป็นผู้เชี่ยวชาญ ณ กระทรวงศึกษาธิการ ในกรุงเทพฯ โดยที่ผู้เชี่ยวชาญมีผมยาว ใส่กางเกงยีนส์ และเกือกแตะฟองน้ำ แต่คุณหญิงอัมพร มีศุข ซึ่งเป็นผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ของกระทรวง ก็โปรดปรานเขา โดยเขามีส่วนร่วมร่างโครงการต่างๆ ให้กระทรวงได้เงินตราจากต่างประเทศมาพัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมนอกหลักสูตรมิใช่น้อย

นิโคลัสกับมอนตาเน็ตมาอยู่เมืองไทยในปลายทศกะที่ 1960 จนถึงต้นทศกะที่ 1980 ซึ่งเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เขาคบกับเยาวชนหัวก้าวหน้า ที่เริ่มคิดอย่างแหวกกระแสหลักออกไป โดยเขามีส่วนเกื้อกูลกับเยาวชนเหล่านี้เป็นอย่างมาก ด้วยมิตรภาพของเขา และความคิดความอ่านของเขา พร้อมทั้งการแนะนำหนังสือใหม่ๆ ให้เยาวมิตรไทยได้อ่าน จนบ้านเขาเป็นที่พักพิงของเยาวมิตรบางคนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะก็เสกสรรค์ ประเสริฐกุล วิศิษฐ์ วังวิญญู ประชา หุตานุวัตร สันติสุข โสภณศิริ และไพศาล วงศ์วรวิสิทธิ์

เมื่อก่อนเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 1976 ขึ้นนั้น พวกเราทั้งที่เป็นชาวพุทธ คริสต์ และมุสลิม ได้ตั้งกลุ่มประสานงานศาสนาเพื่อสังคมขึ้น (Coordinating Group for Religion and Society) โดยหวังว่าจะใช้ศาสนธรรมมาเป็นพลังในการลดความรุนแรง ซึ่งกำลังเผยทีท่าออกมายิ่งๆ ขึ้นอย่างน่าสะพรึงกลัวนัก สังฆราชบุญเลื่อน หมั้นทรัพย์ และโกศล ศรีสังข์ แห่งสภาคริสตจักร เป็นตัวตั้งตัวตีที่สำคัญของฝ่ายคริสต์ ข้าพเจ้าอยู่ฝ่ายพุทธ แต่แล้ววิกฤตการณ์ 6 ตุลาคม ก็เป็นเหตุ ให้ข้าพเจ้าต้องอยู่นอกประเทศถึงสองปี เฉกเช่น โกศล ศรีสังข์ด้วยเหมือนกัน

ในช่วงเวลาดังกล่าว นิโคลัส ได้เข้ามาร่วมพยุง CGRS อย่างแข็งขัน ด้วยความร่วมมือของโคทม อาริยา และศรีสว่าง พั่ววงศ์แพทย์  สองคนหลังนี้เข้ามาสู่ CGRS ด้วยคำแนะนำของป๋วย อึ๊งภากรณ์ ซึ่งก็ต้องลี้ภัยไปอังกฤษเช่นเดียวกับข้าพเจ้า โดยเราได้ร่วมกันตั้งมูลนิธิมิตรไทยขึ้นที่นั่น  เพื่อช่วยเมืองไทยด้านข้อมูลข่าวสาร และงานด้านนสิทธิมนุษยชน โดยประสานกับ CGRS อย่างไม่เปิดเผยอีกด้วย

ในช่วงที่นิโคลัสไปอังกฤษ ก็ได้ไปประชุมก่อตั้งมิตรไทยกับเรา ที่บ้านบิดามารดาเขาด้วย โดยที่นิโคลัสสมารถโยงใยเยาวมิตรชาวไทยของเขาให้เข้ามามีบทบาทใน CGRS ยิ่งๆ ขึ้น โดยเฉพาะก็สันติสุข โสภณสิริ และไพศาล วรวิสิทธ์ ซึ่งแม้จะอุปสมบทออกเป็นพระไพศาล วิสาโลแล้ว ก็ยังอุทิศตนเพื่อ  CGRS อย่างเต็มที่ จนหน่วยงานนี้ปลาสนาการไปตามพระอนิจลักษณะ

งานเขียนของนิโคลัส ในช่วงที่อยู่เมืองไทย ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ โดยโครงการตำรามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในชื่อว่า Bridge and Barrier on Development ซึ่งมีแปลเป็นไทยด้วย นับว่านิโคลัสให้ข้อคิดและตั้งคำถามในเรื่องการพัฒนาอย่างน่าสนใจ และเขาแนะนำนักการศึกษานอกกระแสหลักให้พวกเราได้รู้จักด้วย โดยเฉพาะก็ Paulo Faeiri  และ Ivan Illich ดังงานของคนทั้งสองนี้ก็มีแปลเป็นภาษาไทยด้วยแล้ว ยิ่งกับ Ivan Illich ด้วยแล้ว เราสนิทสนมกันเป็นพิเศษ จนพวกเราบางคนได้ไปเยี่ยมเขาถึง Cana vaca  ซึ่งเขาตั้งเป็นศูนย์การศึกษานอกกระแสหลักอยู่ในประเทศแมกซิโก โดยที่ข้าพเจ้าได้สนิทสนมกับเขา ต่อมาจนเขาตายจากไปเมื่อเร็วๆ นี้เอง

เมื่ออกจากเมืองไทยไปแล้ว นิโคลัสไปทำงานที่ธนาคารโลก โดยการเป็นผู้แทนหน่วยงานนั้นในประเทศที่ยากจน เริ่มแต่เนปาล โดยเขาเดินไปเยี่ยมหมู่บ้านต่างๆ อย่างเอาจริงเอาจัง บางทีเดินเป็นวันๆ ตัวเขาเองไม่ใช้รถยนต์ส่วนตัว มีแต่มอเตอร์ไซด์ ซึ่งใช้ในเมือง (เพราะจักรยานสองล้อสู้กับการขึ้นภูเขาไม่ไหว) หากใช้ขาทั้งสองกับม้าเป็นพาหนะเวลาออกนอกเมือง

นิโคลัสมีความสุขมากกับชาวพื้นเมืองที่ห่างไกลตัวเมืองออกไป เขาให้การศึกษาและให้แนวคิดใหม่ๆ และเรียนรู้จากคนเหล่านั้น แม้จะต้องผ่านล่าม ผู้คนเหล่านั้นก็รับเขาเป็นเพื่อนได้อย่างสนิทใจ โดยที่ไม่มีใครในสถาบันการเงินเป็นอันยิ่งใหญ่ในระดับโลก ได้ลงไปคลุกคลีกับพวกเขาเช่นนี้มาก่อนเลย ต่อมานิโคลัสได้ย้ายไปประจำอยู่ในอาฟริกาด้วย

เวลาเขาไปเยี่ยมสำนักงานใหญ่ของธนาคารโลก ที่กรุงวอชิงตัน หากเป็นช่วงที่ข้าพเจ้าลี้ภัยไปประเทศนั้น เราก็ได้พบกัน แม้เมื่อข้าพเจ้าหนีสุจินดา คราประยูรไปอยู่ที่ญี่ปุ่น นิโคลัสก็ตามไปเยี่ยมถึงที่นั่น

มิตรภาพของเรากระชับมั่นตลอดมา ยิ่งเมื่อเขามามีบ้านอยู่ที่ภูเก็ตด้วยแล้ว เขาเชิญลูกเมียข้าพเจ้าให้ไปพักกับเขา ดังเพื่อนคนอื่นๆ ก็เช่นกัน และเมื่อข้าพเจ้าอายุครบ 70 ปี นิโคลัสก็กรุณาช่วยเขียนคำนิยมให้อย่างน่าจับใจ ในหนังสือชื่อ Socially Engaged Spirituality: Essays in Honor of Sulak Sivaraksa on His 70th Birthday ดังต่อมาเขาได้รวบรวมบทความต่างๆ ให้ข้าพเจ้าและเขียนคำนำให้ด้วย ในหนังสือเล่มล่าสุดที่ตีพิมพ์ในสหรัฐชื่อ The Wisdom of Sustainability: Buddhist Economics for the 21stCentury ข้าพเจ้ารู้สึกสำนึกถึงบุญคุณของเขาอยู่อย่างไม่รู้ลืม

อัตชีวประวัติของเขาชื่อ All in the case of Duty นั้น มีสำนักพิมพ์ในประเทศสวิสรับแปลและจะตีพิมพ์เป็นภาษาฝรั่งเศส โดยที่ประชา หุตานุวัตร ก็รับแปลเป็นไทย

พวกเราในเมืองไทย กำหนดจัดงานบุญอุทิศให้นิโคลัส เบนเน็ต ณ เรือนร้อยฉนำ มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป เลขที่ 666 ถนนเจริญนคร คลองสาน กรุงเทพฯ วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ แต่เวลา 10.00 น. เป็นต้นไป โดยพระไพศาล วิสาโล จะแสดงธรรมานุสรณ์ถึงกัลยาณมิตรของเราคนนี้ด้วย ณ ที่นี้เองเมื่อตอนเราเปิดเรือนร้อยฉนำในปี พ.ศ. 2546 นิโคลัสก็ได้ไปร่วมด้วย และได้แสดงปาฐกถาเสม พริ้งพวงแก้วในโอกาสนั้นด้วย

นิโคลัสพูดถึงตัวเองด้วยสามวลี ว่าเขาเป็น authoritarian, anarchist and activist แต่ถ้าเราจะเอ่ยถึงเขาเป็นภาษาอังกฤษ คงสรุปได้สั้นๆ ว่า Nicholas was unique, unforgettable, full of energy and creativity, having no place for fear, or mediocrity,. He loved life, his family, the underprivileged,. His courage was incredible, he never stopped writing, thinking, reading and giving in whatever help was needed around him. We miss him, but his formidable nature remains an example for all of us.

โพสต์โดย Sulak Sivaraksa เมื่อ วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม 2010

‘วิถีทิเบต’ ผูกมิตร ‘วิถีไทย’

'วิถีทิเบต' ผูกมิตร 'วิถีไทย'

Author : http://www.dailynews.co.th

‘งาวัง’ และ ‘นอร์บู’ ทูตศิลปินแห่งถิ่นขุนเขาสูง

“ทิเบต” นอกจากได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งพุทธศาสนา ยังเป็นดินแดนที่เปี่ยมไปด้วยศิลปวัฒนธรรมที่น่าหลงใหล ที่ผสมผสานพุทธปรัชญา เข้ากับความงามทางศิลปะ และเร็ว ๆ นี้คนไทยก็จะมีโอกาสได้สัมผัสกับศิลปวัฒนธรรมทิเบตแท้ ๆ ในไทย โดยมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป, ศูนย์ไทย-ทิเบต, กลุ่มดินสอสี ร่วมกับหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และหอศิลป์ตาดู จะจัดเทศกาลศิลปวัฒนธรรมทิเบตขึ้น และครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่มีตัวแทนจาก สถาบันศิลปะการแสดงทิเบต หรือทิป้า (TIPA-Tibetan Institute of Performing Arts) เข้ามาจัดแสดงในโอกาสครบ 50 ปี การก่อตั้งเพื่อเผยแพร่แลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมระหว่างไทย-ทิเบต ซึ่งทีม “วิถีชีวิต” ก็มีโอกาสพูดคุยกับ “2 ศิลปินทิเบต” และนำมาเล่าสู่กันในวันนี้…

งาวัง เทนซิน (Ngawang Tenzin) วัย 29 ปี ตัวแทนคณะการแสดง เล่าประวัติว่า เกิดที่เมืองลาซา พออายุได้ 13 ปี เขาได้บอกมารดาว่าอยากศึกษาต่อที่อินเดีย จึงได้เข้าเรียนที่โรงเรียนทิเบทัน     ชิลเดรน วิลเลจ (Tibetan children village school) ในปี 2536-2539 จากนั้นจึงมีโอกาสเข้าเป็นส่วนหนึ่งในสถาบันทิป้า เพราะสนใจศาสตร์การแสดงและการเต้นมาก โดยเฉพาะการเต้นรำแบบท้องถิ่น ซึ่งเมื่อได้รับโอกาสจากอาจารย์ในทิป้าที่ได้ยินชื่อเสียงมานาน ก็เหมือนฝันเป็นจริง โดยเด็ก ๆ ทิเบตต่างต้องการที่จะได้ศึกษาต่อที่สถาบันแห่งนี้ แต่ก็ใช่ว่าทุกคนจะได้รับโอกาส การที่เขาถูกเลือก เขาจึงถือว่าเป็นเรื่องที่พิเศษสุดมาก

“ทุก ๆ วันที่ตื่นขึ้นมา จะมีเรื่องให้ผมได้ศึกษาตลอด ผมจึงมีความสุขมากที่ได้เข้ามายืนตรงนี้ ยิ่งรู้สึกว่าเราเป็นส่วนหนึ่งที่จะมีส่วนช่วยในการสืบสานอนุรักษ์วัฒนธรรม ไม่ให้สูญหาย ก็รู้สึกว่าเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่และมีความสำคัญมาก จึงรู้สึกกดดันทุกครั้งที่ต้องแสดงในนามตัวแทนคนทิเบต”

งาวังกล่าวว่า เขาเชื่อว่าศิลปะเป็นภาษาสากล เป็นภาษาโลก แม้จะไม่เข้าใจในความหมายของภาษา แต่สามารถสื่อสารถึงกันได้ ศิลปะทิเบตนั้นมีตำนานมายาวนานคล้ายกับศิลปะของไทย โดยมีรูปแบบแตกต่างออกไปตามภูมิศาสตร์และวิถีชีวิต ศิลปะทิเบตก็เช่นกัน บทเพลงและการเต้นรำล้วนมีเรื่องราวและแสดงออกถึงความเป็นตัวตน ซึ่งการเรียนการสอนที่ทิป้า นอกจากจะฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ ก็ยังเน้นที่การเข้าถึงความสัมพันธ์ของชีวิตและจิตวิญญาณของทิเบตอีกด้วย ทำให้ทุกคนต้องทำงานหนัก ในฐานะตัวแทนทิเบต

“รู้สึกกดดันในทุกครั้งที่ต้องแสดงในนามของ   ทิป้า เพราะเป็นสถาบันที่ยิ่งใหญ่ และเป็นเสมือนตัวแทนของหลายสิ่งสำหรับคนทิเบต การสอนในทิป้าจะมุ่งเน้นไปที่การเข้าถึงแก่น สำหรับการมาแสดงในประเทศไทยครั้งนี้ ถือเป็นครั้งแรก และผมก็คาดหวังว่าคนไทยจะมีความสุข และเกิดความประทับใจในสิ่งที่พวกเราตั้งใจมอบให้เป็นของขวัญ” เป็นความรู้สึกอีกส่วนหนึ่งของงาวัง ตัวแทนนักแสดงหนุ่มแห่งทิป้า

นอกจากภาค “การแสดง” แล้ว ไฮไลต์สำคัญอีกอย่างของทิเบตที่คนไทยกำลังจะได้สัมผัส คือ “สถูปทิเบต” ที่จะมีการจัดสร้างจำลอง ขนาด 3×6 เมตร โดยรูปแบบและรายละเอียดจะถอดแบบมาจากศิลปะทิเบต แท้ ๆ เพียงแต่ย่อขนาดลง ซึ่งกับเรื่องนี้ทางตัวแทนที่อาจเรียกได้ว่าเป็นนายช่างใหญ่ที่ควบคุมการก่อ สร้าง นอร์บู แซมเพล (Norbu Samphel) วัย  36 ปี เปิดเผยกับทีม “วิถีชีวิต” ว่า…..

สถูป หรือในภาษาทิเบตเรียกว่า ชอร์ เทน (chorten) เปรียบได้กับลักษณะของเจดีย์ในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่ภายในสถูปทิเบตจะบรรจุบทมนตรา ตำรา คัมภีร์ พระพุทธรูป หรืออัฐิของพระผู้ใหญ่ ส่วนความหมายของการสร้างสถูป หมายถึงการสร้างสันติภาพ แต่ก็จะมีความหมายแตกต่างกันไปตามรูปทรง อย่างไรก็ตาม หลัก ๆ แล้วชาวทิเบตจะมีความเชื่อว่าสถูปจะช่วยปกปักรักษา ช่วยป้องกันความหายนะต่าง ๆ ด้วยพลังแห่งจักรวาล และจะถ่ายเทพลังแห่งความดีงามเหล่านั้นแก่มวลมนุษย์

“การเดินทางเพื่อมาสร้างสถูปในไทย ก็เพื่อเฉลิมฉลองในวาระพิเศษที่ครบรอบ 50 ปีของการก่อตั้งทิป้า สถูปที่สร้างนี้ก็มีความหมายที่เราต้องการส่งมอบความสุขสงบ ความโชคดี และสันติภาพอันงดงาม เป็นของขวัญแก่คนไทย” นอร์บูบอกถึงวัตถุประสงค์ของการก่อสร้างสถูปจำลอง

จากนั้นเราถามถึงประวัติของนอร์บูเองก่อนที่จะเข้ามาเป็นนายช่างใหญ่ประจำ สถาบัน ซึ่งเขามีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการแกะสลักและควบคุมการก่อสร้างสถูปนี้ เขาเล่าให้ฟังว่า ตัวเขานั้นย้ายจากเนปาลเข้าอยู่อาศัยที่ราชปูล เมืองเดราดูน ประเทศอินเดีย ตั้งแต่อายุ 6 ขวบ ซึ่งครอบครัวเขามีฐานะยากจนมาก แต่โชคดีที่มีคนจาก  ทิป้าเข้ามาช่วยสนับสนุนด้านการศึกษา โดยในช่วงเช้าเขาจะเข้าไปเรียนที่โรงเรียน   ทิเบทัน ชิลเดรน วิล เลจ ตกเย็นก็จะเข้าไปเรียนด้านการแสดงและการละครในสถาบันทิป้า

หลังจากเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลาย เขาคิดว่าทิป้ามีแค่แผนกเต้นรำ แผนกผลิตเครื่องดนตรี และแผนกการผลิตเสื้อผ้าสำหรับการแสดงเท่านั้น จึงเสนอความคิดว่าควรมีแผนกศิลปกรรมด้วย ทางทิป้าจึงมอบให้เขาเป็นผู้ดูแลแผนกนี้ ซึ่งปัจจุบันเขามีตำแหน่งเป็นอาจารย์สอนศิลป กรรมและงานช่างฝีมือประจำทิป้า

“ยอมรับว่าแรก ๆ ที่เข้าร่วมกับทิป้า ผมไม่รู้ตัวเองว่าเข้ามาเพราะอะไร จนผมเติบโตขึ้น ผมจึงค้นหาตัวเองพบว่าผมชอบศิลปะมาก ทำให้ผมคิดว่าวัฒนธรรมไม่ใช่มีแต่เรื่องการร้อง การเต้นรำ แต่ยังมีเรื่องของสิ่งก่อสร้าง สถาปัตยกรรมต่าง ๆ ที่สามารถส่งผ่านความรู้สึกและจิตวิญญาณของคนทิเบต จึงเสนอให้ก่อตั้งแผนกนี้ขึ้นมา ซึ่งเป็นสิ่งที่ผมภูมิใจมาก เพราะสามารถสื่อสารและดำรงไว้ซึ่งความเป็นตัวตนของคนทิเบต”

ศิลปะทางพุทธศิลป์ของทิเบตนั้น นอร์บูบอกว่ามีหลากหลายมากมาย อาทิ ทังก้า   (Tangka) หรือภาพวาดแทน พระสัมมาสัม พุทธเจ้า, มณฑลแห่งการตรัสรู้ ทำจากทราย (Sand Mandala), รูปปั้นเนย (Butter Sculpture) เป็นต้น ซึ่งในงานที่กำลังจะจัดขึ้นในไทยก็จะมีนิทรรศการต่าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้คนไทยได้สัมผัสถึงความงดงามและเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ ระหว่างกัน ซึ่งเขาคิดว่า คนไทยเป็นคนเปิดเผย มีมิตรภาพที่ดี ตัวเขารู้สึกเหมือนเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน เป็นพี่น้องกัน แต่การที่เขาจะถ่ายทอดความรู้สึกที่เขามีต่อคนไทย ต่อประเทศไทยออกมาเป็นคำพูด เขารู้สึกว่ายากมาก ดังนั้น ในฐานะที่เป็นศิลปิน สิ่งที่เขาจะสามารถแสดงถึงมิตรภาพได้ดีที่สุด ก็คงผ่านทางงานศิลปะที่เขาถนัด จึงเป็นที่มาของการสร้างสถูปเพื่อสื่อสารถึงความรักที่เขาต้องการมอบให้แก่ เพื่อนคนไทย สถูปที่สร้างจึงเน้นสีขาวซึ่งหมายถึงสันติภาพ ความสุข ความสงบ

“ผมเชื่อว่ามนุษย์เราต้องมีความรักมอบให้กันและกันมาก ๆ เพราะถ้าปราศจากความรักเรา  ก็จะไม่สามารถทำอะไรได้เลย สถูปสีขาวที่สร้างขึ้น ผมต้องการสื่อถึงสันติภาพ ความสุข ความเจริญ ความรัก ผมเชื่อว่าทั้งหมดนี้คือสิ่งที่ดีที่สุด ที่ผมอยากมอบให้แก่คนไทยทุก ๆ คน” นอร์บูทิ้งท้าย

และจะว่าไปแล้ว “สันติภาพ ความสุข ความเจริญ ความรัก” สิ่งเหล่านี้ ในตอนนี้ ในตอนที่ไฟการเมืองกำลังร้อนรุ่มไปทั่วทุกหัวระแหง “คนไทยเรากำลังต้องการอย่างมาก !!”.

จากหิมาลัย…สู้เจ้าพระยา

เทศกาลศิลปวัฒนธรรมทิเบต จะจัดขึ้นในไทยในช่วงวันที่ 5-10 มี.ค. 2553 โดยความร่วมมือของหลายองค์กร ด้วยธีม “จากหิมา ลัย สู่เจ้าพระยา”  ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ย่านปทุมวัน กรุงเทพฯ นอกจากจะมีสถูปทิเบตจำลองจัดตั้งไว้บริเวณด้านหน้า ภายในหอศิลป์ฯ ก็จะมีการแสดงศิลปวัฒนธรรมโดยศิลปินและนักแสดงจากสถาบันทิป้าของทิเบต เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

เทศกาลครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่ และแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมไทย-ทิเบต โดยภาคการแสดงก็จะมีการแสดงที่น่าสนใจ เช่น การแสดงภาพเขียนทังก้า (Tangka) หรือภาพวาดแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า, ระบำชานัก หรือระบำหน้ากากเพื่อจิตวิญญาณ, ระบำบ๊ะ ชาร์ ชก กี เรลปา หรือการเต้นรำ ของนักเดินทางพเนจร ตลอดจนมีนิทรรศการและเปิดตรวจรักษาการแพทย์แผนทิเบต นิทรรศการภาพถ่ายคนชราทิเบต การฉายภาพยนตร์ รวมถึงการออกร้านจำหน่ายสินค้า หนังสือ ของที่ระลึกเกี่ยวกับทิเบต ทั้งนี้ งานนี้จึงถือเป็นโอกาสดี…

สำหรับผู้ที่สนใจศิลปวัฒนธรรมของ ทิเบต.

ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ : รายงาน

Source : http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=524&contentID=49807

เทศกาลทิเบต “หิมาลัย” ถึง “เจ้าพระยา”

เทศกาลทิเบต "หิมาลัย" ถึง "เจ้าพระยา"

Author : Admin

“ทิเบต” เป็นดินแดนแห่งพุทธศาสนาที่ประดุจดังหลังคาโลก โอบล้อมด้วยเทือกเขาหิมาลัยอันยิ่งใหญ่ พุทธศาสนาทิเบต ทำให้คนทั่วโลกที่แสวงหาความสงบสุขทางจิตวิญญาณ พากันหลั่งไหลสู่เส้นทางสายศรัทธา มรรคาแห่งการน้อมนำจิตใจ ให้แก่โลกและธรรมชาติ ในการเข้าถึงความดี ความงาม ความจริง ของโลกและชีวิต

ทิเบตยังเป็นดินแดนแห่งศิลปวัฒนธรรม ผสานพุทธปรัชญาอันลึกซึ้ง ความสุขทางจิตวิญญาณ เข้ากับโลกของสุนทรียะ ผ่านบทสวด เสียงดนตรี การร่ายรำ ศิลปะภาพวาด และศิลปะแขนงต่างๆ อีกมากมาย

ไม่ว่าจะเป็น “ทังก้า” (Thangka) ศิลปะภาพวาดชั้นสูงอันงดงามบนผืนผ้า เพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา และบูชาแทนพระพุทธเจ้า

พระทิเบตกับมณฑลแห่งการตระหนักรู้ที่สร้างจากทรายสี (Sand Mandala) ลวดลายอันสวยงาม ที่ใช้เวลานานนับเดือนในการสร้างสรรค์ แต่สุดท้ายจะถูกลบละลายหายไปกับสายลม อันเป็นปริศนาธรรมอันล้ำลึก

TIPA – Tibetan Institute of Performing Arts หรือ “สถาบันศิลปะการแสดงทิเบต” จัดตั้งตามดำริขององค์ทะไลลามะที่ 14 ที่จะสืบสานศิลปวัฒนธรรมทิเบต เพื่อรักษาคุณค่าแห่งจิตวิญญาณของชนชาติทิเบต และของโลกไว้

TIPA เป็นทั้งสถานศึกษา แหล่งรวมศิลปิน และคณะนักแสดงมืออาชีพ ตั้งอยู่ที่เมืองธรรมศาลา ตอนเหนือของอินเดีย โดยเปิดการแสดงให้แก่ผู้เดินทางไปแสวงบุญ และเข้าเฝ้าองค์ทะไลลามะ รวมทั้งไปแสดงตามเมืองต่างๆ ทั้งในอินเดีย เอเชีย อเมริกา และยุโรป

ในวาระครบรอบ 50 ปี แห่งการก่อตั้ง คณะนักแสดงจาก TIPA เดินทางมาเยือนประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยนำการแสดงศิลปวัฒนธรรมชุดพิเศษ ที่ตระเวนแสดงมาแล้วกว่า 50 รอบ ในฮอลแลนด์ จัดแสดงใน “เทศกาลศิลปวัฒนธรรมทิเบต จากหิมาลัยถึงเจ้าพระยา” วันที่ 5-10 มีนาคม 2553 ที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร


ด้วยความร่วมมือของมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร หอศิลป์ตาดู และกลุ่มดินสอสี ร่วมสนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

“การแสดงศิลปวัฒนธรรมของ TIPA เป็นการสื่อสารให้ผู้คนได้รู้จัก ได้เข้าใจความเป็นทิเบตว่าคืออะไร เป็นใคร สำหรับที่กรุงเทพฯ เช่นกัน เราหวังว่าจะได้นำสารแห่งความสุขทางจิตวิญญาณ ผ่านการแสดงศิลปวัฒนธรรมจากทิเบตสู่คนไทย ภายหลังการแสดงจบลง ถ้ามีคนไทยหันมาสนใจเรื่องราวความเป็นไปของทิเบตมากขึ้น นั่นถือเป็นผลสำเร็จที่ได้รับจากการแสดงของเรา” นาวาง เท็นซิน หัวหน้านักดนตรี และนาฏศิลป์ TIPA กล่าวถึงความตั้งใจของคณะในงานนี้

นาวาง เกิดที่เมืองลาซา ทิเบต อายุได้ 13 ปี เดินทางไปเรียนต่อที่ Tibetan Children Village school ในอินเดีย ก่อนจะเข้าศึกษากับสถาบัน TIPA ในด้านการเต้นรำ ร้องเพลง เล่นดนตรี ละคร โอเปร่า นานกว่า 15 ปี จากนักแสดงรุ่นเยาว์จนปัจจุบันเป็นพี่ใหญ่ของคณะ

พร้อมทั้งให้รายละเอียดถึงการแสดงที่จะมีขึ้นครั้งแรกในประเทศไทยว่า ทิเบตประกอบไปด้วย 3 ภูมิภาคใหญ่ๆ แต่ละภาคมีภาษา ดนตรี บทเพลงพื้นเมือง และระบำชนเผ่า แตกต่างกันไปมากมายเป็นร้อยๆ อย่าง โดยในครั้งนี้คัดสรรการแสดงมาให้ชมครบทุกภาค

ไม่ว่าจะเป็น Domey Therik ระบำแห่งความเบิกบานต้อนรับปีใหม่ หรือเฉลิมฉลองฤดูเก็บเกี่ยวที่มีลีลาสนุกสนาน ตอบโต้กันไปมาระหว่างชายหญิง

บทเพลง kongpoi Dha lu จากจังหวัดกงโป ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ เป็นพื้นที่ป่าเขียวชอุ่มชุ่มชื้นด้วยพืชพรรณไม้นานาชนิด นอกจากวิถีชีวิตที่แนบแน่นกับธรรมชาติแล้ว ชายชาวพื้นเมืองในแถบนี้ ยังมีชื่อเสียงด้านความสามารถในการยิงธนู ส่วนผู้หญิงมีชื่อในด้านความงาม

Bod shar chok kyi Ralpa หรือการเต้นรำของนักเดินทางพเนจร ในเขตแคว้นคาม ภาคตะวันออกของทิเบต กลุ่มนักดนตรีพเนจรผมหยิกยาวเดินทางจากหมู่บ้านหนึ่งไปหมู่บ้านหนึ่ง เพื่อร้องเล่นเต้นรำ พวกเขามักจะร้องเพลงสรรเสริญ “มารปะ” ซึ่งเป็นคุรุทางจิตวิญญาณผู้ยิ่งใหญ่ กับเหล่าโยคีตันตระของทิเบต ผู้มีชื่อเสียงและบรรลุธรรม เชื่อกันว่า เมื่อพวกเขาไปร้องเพลงและเต้นรำที่หมู่บ้านใด หมู่บ้านนั้นจะโชคดี

นอกจากนี้ ยังมีนาฏลีลาที่สะท้อนศรัทธา ความเชื่อทางศาสนา และพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ เช่น “ระบำหน้ากาก” Shanak หรือ “ระบำหมวกดำ” มีจุดมุ่งหมายเพื่อขจัดอุปสรรคกีดขวางความสุข หมายถึงความเศร้าหมอง และความไม่รู้ถึงสาเหตุแห่งทุกข์ที่อยู่ในตัวของแต่ละบุคคล

เมื่อเริ่มการแสดง ผู้เต้นระบำหมวกดำจะหลั่งน้ำพระพุทธมนต์ถวายต่อลามะเทพเจ้า และ “ธรรมะปาละ” ผู้รักษาสัจธรรม ในศาสนาแบบทิเบตนั้น ธรรมะปาละกับมิตรสหาย มักปรากฏกายด้วยท่าทางโกรธเกรี้ยว เพื่อกำราบจิตใจของปุถุชนที่อ่อนแอ เพราะโทสะ โลภะ โมหะ

“ระบำเทพเจ้ากวาง” Stag Dance แสดงถึงเทพเจ้าที่สามารถเคลื่อนไหว จนทำให้เกิดพลังรุนแรง เพื่อให้กิเลสอ่อนแรงลง จนเกิดการพัฒนาทางจิตวิญญาณ ระบำชนิดนี้มี 4 ขั้นตอน ได้แก่การอัญเชิญพระพุทธเจ้า และพระโพธิสัตว์ การถวายบูชา การแสดงการเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงเพื่อเอาชนะอุปสรรค และการภาวนาให้พระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์เสด็จกลับสู่ที่ประทับ

ระบำเทพเจ้ากวางได้รับความนิยมในทิเบตมาก เพราะเชื่อกันว่าเทพผู้มีเศียรเป็นกวาง คือผู้ปกปักรักษาที่ยิ่งใหญ่

ไม่เท่านั้นยังมีการแสดงที่พิเศษมากอีก 2 ชุด เกี่ยวเนื่องกับ Traditional Tibet Opera เป็นเอกลักษณ์ของทิเบต โดยในช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี จะมีเทศกาลทิเบตโอเปร่า ที่แต่ละกลุ่มจะมาร่วมกันแสดงที่เมืองธรรมศาลา องค์ทะไลลามะจะเสด็จมาชมด้วย

การแสดงชุดแรก คือ “ระบำจามรี” Yak Dance ตัดมาจากโอเปร่าเก่าแก่เรื่องหนึ่งของทิเบต ระบำชุดนี้ทำให้เห็นภาพวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชนเร่ร่อนที่ต้องต้อนจามรี ไปในที่ต่างๆ

ส่วนการแสดงอีกชุด ได้แก่ Ngonpa – Rigna เป็นการแสดงประเพณี ที่ใช้แสดงก่อนการแสดงโอเปร่าของทุกคณะ ทุกครั้งที่แสดงทิเบตโอเปร่า จะต้องขับร้องบทเพลงพร้อมระบำชุดนี้เสมอ

Ngonpa – Rigna เสมือนการแสดงเปิดม่าน เพื่อปัดเป่ามลทินออกจากเวที ตัวละครสวมหน้ากาก คือกลุ่มคนที่เป็นสัญลักษณ์ของพระวัชราปาณีโพธิสัตว์ กลุ่มเด็กสาว สวมมุงกุฎปักดิ้น พร้อมทั้งมีกุหลาบดอกโตทัดหู คือสัญลักษณ์ของเทพบุตรเทพธิดา

ตอนสุดท้ายของการแสดง ทุกคนบนเวทีจะขว้าง tsampa หรือ ก้อนแป้งทำจากข้าวบาร์เลย์ ที่อยู่ในมือขึ้นไปในอากาศ เพื่อสักการะแด่พระโพธิสัตว์และเทพเจ้า เพื่อสันติสุขและความเจริญของสัตว์โลก

อีกทั้งบริเวณจัดงานยังมีนิทรรศการศิลปะ สุนทรียะอันลึกซึ้งด้วยพุทธปรัชญาทิเบต เช่น Sand Mandala มณฑลแห่งการตรัสรู้จากทรายหลากสี และ Butter Sculptures เครื่องสักการะจากเนยแกะสลัก โดยฝีมือพระทิเบต ศิลปะภาพเขียนทังก้า อันวิจิตรพิสดาร ถวายบูชาพระพุทธเจ้า นิทรรศการภาพถ่าย หนังสือ และของที่ระลึกทิเบตอีกมากมาย

“จากหิมาลัยถึงเจ้าพระยา” ครั้งแรกในประเทศไทย เปิดแสดงวันที่ 5-10 มีนาคม 2553 รอบปกติ 19.00 น. เสาร์-อาทิตย์ เพิ่มรอบ 14.30 น. (เว้นวันจันทร์) สมทบทุนการแสดง 1,000 บาทต่อที่นั่ง (ที่นั่งมีจำนวนจำกัด) สอบถามรายละเอียดและสำรองที่นั่งได้ที่ กลุ่มดินสอสี โทร.0-2623-2838-9 และเสมสิกขาลัย โทร.0-2438-9331-2

Source : หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวัน  วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 ปีที่ 19 ฉบับที่ 7017 หน้า 5

เส้นทางพระโพธิสัตว์

เส้นทางพระโพธิสัตว์

Author : https://palungjit.org

วันนี้ได้อ่านบทสัมภาษณ์สั้นๆ ของนักแสดงท่านหนึ่งที่ตัดสินใจปลงผมบวชชี เธอให้สัมภาษณ์ว่า เธอรู้สึกปลาบปลื้มในวิถีทางของการเป็นนักบวช เพราะนั่นคือการตัด การละสิ้น ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นแนวทางที่แตกต่างจากชีวิตฆราวาสอย่างสิ้นเชิง เธอยินดีที่ได้ก้าวเข้าสู่เส้นทางนี้ แม้จะเป็นเพียงชั่วระยะเวลาเดียว ฉันขออนุโมทนากับเธอ ผู้ก้าวล่วงสู่เส้นทางของการหลุดพ้น แต่นั่นไม่ใช่การแยกขาดจากกัน

จากบทสัมภาษณ์นี้ทำให้ตัวฉันเองนึกย้อนไปถึงข้อเขียนเล่น ๆของตนเองเกี่ยวกับเส้นทางของพระโพธิสัตว์ที่เคยนึกคิดค้างไว้

ฉันเป็นคนอ่านหนังสือน้อย ค้นคว้าน้อย หลายสิ่งหลายอย่างมาจากการคิดนึกและเฝ้ามองครูบาอาจารย์ ผู้คนรอบข้างที่ตนเองได้ผ่านใกล้ชิด พระโพธิสัตว์ในความหมายที่ฉันรู้จัก คือบุคคลผู้ไม่แยกขาดจากความทุกข์ทั้งมวล ไม่แยกห่างจากเพื่อนมนุษย์ ไม่รังเกียจโคลนตม ไม่ปลีกตนหลีกเร้น พระโพธิสัตว์องค์หนึ่งที่ฉันเฝ้าดูก็คือแม่ของฉัน หญิงชาวบ้านผู้ซึ่งอยู่ในวิถีของปุถุชน

ฉันชอบเรื่องเล่าที่บอกว่า ก่อนที่พระพุทธองค์จะทรงตรัสรู้นั้น ท่านทรงพระสุบิน ในพระสุบินนั้นท่านดำเนินอยู่บนกองมูตรคูฏ แต่มูตรคูฏเหล่านั้นก็ไม่ได้แปดเปื้อนพระองค์ ไม่แม้จะติดปลายเท้าของพระองค์

ในสายปฏิบัติมหายาน ทุกสิ่งทุกอย่างนั้นล้วนอยู่ในสายธารของการฝึกปฏิบัติ ดังนั้นจึงไม่แยกขาด ไม่แยกตน แม้จะมีเวลาฝึกปฏิบัติอันป็นลักษณะเฉพาะตน ส่วนตัว อยู่บ้าง ก็นับว่าน้อยมาก เพียงวันละไม่กี่ชั่วโมง ครูท่านหนึ่งที่อยู่ในสายการปฏิบัตินี้เคยเล่าให้ฟังว่า ในความวุ่นวายของโลก ของผู้คน บางครั้งก็ทำให้ท่านรู้สึกว่าสิ่งเหล่านั้นรบกวนการฝึกปฏิบัติ มีบ้างที่คิดว่าให้ท่านไปอยู่ในป่า สื่อสารกับลิง กับสิงสาราสัตว์อาจจะง่ายกว่าการฝึกปฏิบัติกับคน แต่เมื่อท่านมองให้ถ่องแท้ ท่านกลับเห็นว่า การฝึกปฏิบัติร่วมกับผู้คนในชีวิตจริงก็เพื่อให้เห็นตนนั่นเอง และการฝึกปฏิบัตินี้ยากยิ่งกว่าการฝึกปฏิบัติกับสิงสาราสัตว์เสียอีก เป็นเวทีที่ได้ฝึกตนยิ่งกว่า เป็นการฝึกปฏิบัติร่วมกันในสายธาร ในลำน้ำ ที่ล่องไปพร้อมๆ กันสู่มหาสมุทร คือฝั่งพระนิพพาน…

กิจกรรมธรรมยาตราของพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ท่านได้พูดสั้นๆ ว่า แม้จะอยู่ในทุกข์ แต่ก็ไม่เป็นทุกข์ อยู่กลางแดด แต่กลับเย็นสบาย ฉันเคยอ่านพบว่า ในการเดินธรรมยาตราครั้งหนึ่งมีเด็กเกเรเข้าร่วมเดินด้วย เด็กกลุ่มนี้เป็นเด็กที่มีปัญหากับพ่อแม่ผู้ปกครอง ก้าวร้าว มีพฤติกรรมรุนแรง เมื่อเดินธรรมยาตราได้ 3 วัน ก็กลับร้องไห้ คิดถึงบ้าน จนวันสุดท้าย นักข่าวจึงเข้าไปสัมภาษณ์ความรู้สึก เขาตอบว่า เขาอยากจะกลับบ้านไปกอดแม่ เขาเคยคิดว่าเขาเก่ง กล้า ไม่กลัวใคร แต่เมื่อมาเดินเขาพบว่าตัวเองเหนื่อยมากจนแทบจะทนไม่ได้ แต่คนอื่นกลับเดินได้อย่างสบาย บางคนเป็นเด็กเล็กกว่าเขา ทำให้เขารู้สึกอาย พบว่าตัวเองอ่อนแอ เขาพบว่าเขาทำให้แม่เสียใจมาก เขาอยากจะกลับไปบอกแม่ว่า เขาเสียใจ เมื่อเดินมาจนครบวันสุดท้าย เขารู้สึกภูมิใจในตัวเองที่ไม่ยอมแพ้ในกลางคัน เขารู้สึกว่าตัวเองผ่านมันมาได้ และรู้สึกว่าจิตใจเข้มแข็ง

เราจะพบสิ่งมีค่าเสมอในกองทุกข์ ในความทุกข์  ถ้าเราอดทนมากพอ เราจะพบกับความเข้มแข็งที่แท้ในยามที่เราอ่อนแอถึงขีดสุด

ฉันคิดว่าเหล่านี้คือวิถีทางของการฝึก วิถีทางของพระโพธิสัตว์ ผู้อยู่ร่วมในกองทุกข์ และเรียนรู้ในความทุกข์ พระโพธิสัตว์ที่อยู่ในระหว่างการฝึกตนย่อมเป็นแบบอย่างของความเข้มแข็ง พระโพธิสัตว์ที่ฝึกตนแล้วย่อมเป็นที่พึ่งแก่คนอื่นได้

ฉันคิดว่าพระโพธิสัตว์คงมิใช่ใครสักคนผู้ที่อยู่เหนือกว่าผู้คนและสรรพสัตว์ทั้งปวง

พระโพธิสัตว์นั้นเป็นผู้ให้โดยแท้ แต่พร้อมกันนั้นท่านก็มิได้ปฏิเสธการรับ

FOREST MONKS

FOREST MONKS

Author : Admin

LUCKY SEVERSON, correspondent: This ragtag parade in northwest Thailand, in the area known as the Golden Triangle, is a celebration of sorts, but it also has a very serious purpose, and one that has had dangerous consequences.

(speaking to Thai man): How was he killed?

PIPOB UDOMITTIPONG: He was stabbed to death.

SEVERSON: You think that he was killed because of his environmental work?

UDOMITTIPONG: Of course, definitely.

SEVERSON: Why?

UDOMITTIPONG: Because there was no other reason. He’s such a nice man. If you meet in person, he’s a very amicable man. He has no enemies whatsoever.

Pipob Udomittipong 

SEVERSON: What was so unusual about the killing was that the victim held a position of great respect in Thai society. The victim was a Buddhist monk, an environmental activist.

Susan Darlington is writing a book about Thailand’s environmental Buddhism.

PROFESSOR SUSAN DARLINGTON (Hampshire College): There were 18 human rights and environmental activists who were assassinated in Thailand in a three-year period, none of whose murders were solved. So somebody was feeling threatened and had the power to push back and try to send perhaps warnings or to stop these people altogether.

SEVERSON: Sulak Sivaraksa is a noted Buddhist scholar who has written over a hundred books. He claims he knows who was pushing back against the monks who were trying to protect the forests: international corporations with financial ties to some corrupt generals in the Thai military.

SULAK SIVARAKSA (International Network of Engaged Buddhists): Unfortunately the big loggers, in cooperation with generals, they don’t care. They cut the trees, and the monks protested, and they even arrested monks. Not before in history that monks had been arrested.

SEVERSON: Darlington is a professor of anthropology and Asian studies at Hampshire College in Massachusetts. She says it wasn’t until the late 1980s, after whole forests had vanished, that monks became activists.

(speaking to Professor Darlington): We’re talking about whole forests, clear cutting?

DARLINGTON: Clear cutting to either get the logs-the teak forests were going at a rapid rate, other hardwoods-or cutting down forest to make room for intensive agriculture.

Senior monk Anek 

SEVERSON: The forests went away, and the animals, too, and then in 1988 catastrophic floods caused people to reevaluate what they had been told was progress.

DARLINGTON: Up to three hundred people were killed from the floods, and most experts pointed to this and said the flooding would not have occurred if there hadn’t been such severe deforestation.

SEVERSON: Sulak Sivaraksa founded the International Network of Engaged Buddhists. He says Buddhism’s views of the environment are both moral and spiritual.

SIVARAKSA: Buddhism believes that we are all interrelated, not only among human beings but to all sentient beings, including animals, nature, the river, the trees, the clouds, the sun, the moon, we all related. We are brothers and sisters. So if you harm any of these you harm yourself.

DARLINGTON: Buddhists’ primary motivation, primary goal is to end suffering, and destruction of the environment causes suffering on many levels. Therefore as monks it is part of our role to make people aware of this and to undertake actions to prevent this and to protect the forests that still exists.

SEVERSON: To protect to the forests, one monk did something radical, just as they are doing here now. He started tying orange robes around trees, in effect ordaining the trees.

DARLINGTON: He was called crazy, and a national newspapers called for him to disrobe from the sangha [community or order], that this was not appropriate behavior for a monk, he’s misusing the religion. But meanwhile other monks began to do tree ordinations as well. “You can’t ordain a tree. What does that mean?” So people started debating, what does it mean to ordain a tree?

 
 

 

SEVERSON: To the monks, it meant making the forests sacred, off limits to exploitation. The idea has caught on with some villagers, like these. The forests rangers with the guns are not official rangers. They’re volunteers who patrol the mountainside looking for timber poachers. Senior monk Anek took us to an area near his village that was clear-cut in the dark of the night. August 21st there was a forest here. August 22nd it was gone. Three acres of prized hardwood disappeared overnight. Anek says he doesn’t think monks’ robes wrapped around trees would have prevented this.

INTERPRETER (translating senior Buddhist monk Anek): He says it might not deter them because they are investors from outside, they have no respect for the culture, they have no respect for the tradition. He’s saying that he feels sad because it took them many years to preserve this.

SEVERSON: Anek says he still gets threats for ordaining trees but not as many as before and not as severe. He doesn’t think this area was clear cut for the trees, but instead for the land, which foreign companies are using for huge farming operations, like the tangerine plantations that stretch for miles along rolling hills that were once covered with pristine forests. Unfortunately for the locals, the companies are hiring cheap labor from nearby Burma. So they’re losing the land and their ability to live off it. In the middle of the plantations there is a Buddhist monastery that acts as a buffer against development. The senior monk here is also an environmental activist. His name is Abbot Kittisap.

(speaking to Buddhist abbot): But you’re not fearful?

Because of his activism, and because he is testifying in the trial of the murdered monk who was his friend, Abbot Kittsop has 24-hour-a-day police protection, the gentlemen you see here. The abbot says he is still fearful for his safety, but his conscience keeps him going. Even though it’s been four years since the controversial killing, no one has been convicted of the crime, and recently the chief investigator confirmed many people’s suspicions when he accused the police of tampering with the evidence. Many here don’t think justice will ever be served, but Susan Darlington says that doesn’t mean the monks have not made progress. The Thai government, for instance, has cracked down on illegal logging.

DARLINGTON: I think the role of Buddhism in protecting the environment has come a long way. These monks really do, they put a moral standard into the environmental movement that makes people really stop and think. It brings a spiritual element to it.

SEVERSON: Others like Sulak say spirituality also requires action.

SIVARAKSA: Spirituality is not merely personal contemplation, not only meditation, that you feel peaceful and then you feel “I’m alright, Jack.” I think that’s is dangerous. It’s escapism.

SEVERSON: Sulak Sivaraksa, who received the Right Livelihood Award, also known as the alternative Nobel Peace Prize, says many Westerners and many Buddhists alike do not understand the meaning of engaged Buddhism.

SIVARAKSA: In fact, meditation only helps you to be peaceful. But you must also confront social suffering as well as your own personal suffering, and people suffer now because of the environment.

SEVERSON: The generals and the developers still have the upper hand, but the battle for the land, and the hearts and mind of the people is not over. Ordinary people are now beating a drum for the monks.

For Religion & Ethics Newsweekly, I’m Lucky Severson north of Chang Mai, Thailand.

Source: http://www.pbs.org/wnet/religionandethics/episodes/january-15-2010/forest-monks/5472/

พุทธะเฟมินิสต์ อวยพร เขื่อนแก้ว

พุทธะเฟมินิสต์ อวยพร เขื่อนแก้ว

Author : เพ็ญลักษณ์ ภักดีเจริญ

7 ปีที่แล้ว อวยพร เขื่อนแก้ว หวนคืนบ้านเกิดที่แม่ริม กลับมาทำสวนและทำศูนย์อบรมโครงการผู้หญิงเพื่อสันติภาพและความยุติธรรม โดยใช้แนวทางสันติธรรม

ศูนย์อบรมบ้านดินของเธอ เปิดกว้างสำหรับคนไทยและต่างชาติที่เข้ามาอบรมในหลายประเด็น ทั้งเรื่องสตรีนิยมแนวพุทธ จิตวิญญาณแนวพุทธกับเพศวิถี ความขัดแย้งในองค์กร สันติวิธี ภาวนากับการฟังอย่างลึกซึ้ง ฯลฯ 

คอร์สอบรมของเธอเต็มจนถึงปลายปีหน้า มีผู้หญิงที่ทำงานด้านสันติภาพจากนานาประเทศมาเข้าอบรมทุกปี และเมื่อปีที่แล้วเธอเป็นปาฐกในปาฐกถาเกียรติยศของมูลนิธิโกมลคีมทอง ประจำปี 2551 ครั้งที่ 34..

นี่คือเรื่องราวบางมุมของเธอ

หากจะบอกว่า ความยากจนคือแรงผลักดันที่ทำให้คุณสนใจทำงานเพื่อสังคมจะได้ไหม 
เราเกิดมาอยู่ในชนบทที่ยากจน ถ้าเราไม่มีที่นา เวลาน้ำท่วมก็ไม่มีข้าวกิน ต้องยืมข้าวจากคนที่มีที่นา อีกอย่างคือ ครอบครัวของเราพ่อใช้ความรุนแรงตลอดเวลา พ่อมีภรรยาเยอะ เวลามีปัญหา พี่น้องคนอื่นก็จะนั่งให้พ่อตี แต่วิธีการของเราคือ เวลาพ่อจะตีก็วิ่งหนี พอเรียนจบด้วยความรู้สึกว่าเรายากจน และมีความรุนแรงในครอบครัว จึงไม่เคยคิดทำธุรกิจ

มีโอกาสเรียนหนังสือเพราะพี่ชายส่งเสีย ? 
เรียนแค่สามปีก็จบ เพราะเรียนเก่งและขยัน เมื่อเรียนจบแล้วรู้เลยว่า ต้องทำงานช่วยเหลือคนจน ทำงานอยู่ค่ายผู้อพยพชาวลาวและเขมร 2-3 ปี ตอนนั้นสอนภาษาอังกฤษได้เงินเยอะก็ส่งให้พ่อแม่ ทำให้ที่บ้านดีขึ้น จากนั้นพ่อเสียชีวิตก็กลับมาดูแลแม่ ทำงานโครงการพัฒนากลุ่มชนเผ่าชาวเขาในเชียงรายและแม่ฮ่องสอน และแต่งงานกับคนอเมริกัน ชีวิตแต่งงานทำให้ชีวิตเปลี่ยน

เปลี่ยนอย่างไรคะ
 เราอยู่ง่ายๆ แบบคนจน และแฟนชาวอเมริกันมีรายได้เยอะ แต่เรารู้สึกแปลกแยกจากชีวิตที่เราเติบโตมา อดีตสามีก็รักนะ แต่รักแบบเป็นเจ้าของ เริ่มรู้สึกสูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง ก็เลยตั้งคำถาม พอเลิกกับสามีก็ไปอยู่อาศรมวงศ์สนิทครึ่งปี เป็นจุดที่พลิกชีวิต ได้มาเจออาจารย์สุลักษณ์ ศิวรักษ์ คุยเรื่องศาสนาพุทธและเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ 

ตอนเรียนมหาวิทยาลัย การศึกษาแบบตะวันตกทำให้เราไม่ได้สนใจเรื่องสมาธิอีก ทั้งๆ ที่อ่านหนังสือท่านพุทธทาส แม้จะเข้าใจธรรมะ แต่ตัวปฏิบัติที่ต้องอยู่กับเราตลอดไม่ได้ทำ ก็เลยสนใจสมาธิ จนได้ทำงานและเรียนรู้กับหลายกลุ่มทั้งพุทธทิเบต มหายาน และชอบสายท่านติช นัท ฮันห์ พอทำงานได้สักพัก รู้สึกว่าไม่ไหวแล้ว ถูกผู้ชายครอบงำเยอะ จะผลักดันเรื่องผู้หญิงก็ไม่ง่าย เพราะวิธีการก็ยังชายเป็นใหญ่และอำนาจนิยมเยอะ เรารู้สึกว่าไม่ใช่ทางออก

จากนั้นกลับมาบ้านเกิด คิดว่าจะทำสวนและเริ่มทำงานสังคมที่แม่ริม ช่วงนั้นเริ่มต้นอะไรคะ
เมื่อ ปี 2545 ตั้งใจว่าจะใช้ฐานแนวพุทธในการทำงาน จากนั้นไปอบรมแนวใหม่ผ่านประสบการณ์จากอเมริกา และเรียนรู้เรื่องสตรีนิยม  ได้เห็นชัดว่า การตั้งองค์กรพัฒนาเอกชนทำงานเพื่อสังคม จะต้องมีสติไม่ตกเป็นเหยื่อของความโกรธ เราค่อยๆ เปลี่ยนแปลงตัวเอง ได้เห็นว่า พฤติกรรมบางส่วนมาจากความโกรธพ่อ พ่อใช้ความรุนแรงต่อหน้าเรา แล้วไม่มีคำตอบให้ และผู้ชายก็ใช้อำนาจตลอดเวลา ตอนนั้นคนทำงานเรื่องผู้หญิงมีไม่มาก

เป็นคนเก่ง แต่จัดการปัญหาตัวเองไม่ได้ ? 
ทั้งๆ ที่เราไปเมืองนอกมาหลายแห่ง ได้เรียนรู้มากมาย แต่แก้ความทุกข์ไม่ได้ เราจัดการความโกรธตัวเองไม่ได้ ทั้งๆ ที่เลิกกับแฟนแล้ว ทำไมทุกข์ตรงนี้ไม่จบ เราคิดว่า เราฉลาด แต่ความฉลาดของเราไม่มีสติ ไม่ใช่ปัญญา 

ตั้งแต่นั้นมาชีวิตเราเปลี่ยน ถ้าจะมีคู่ชีวิต อยากมีคู่ชีวิตที่สนใจเรื่องจิตวิญญาณ แม้เราจะมีความรู้ แต่ความรู้แบบนี้ไม่ใช่ปัญญา อีกอย่างเราไม่สนใจเรื่องวัตถุ ความสุขของเราไม่ใช่แต่งงานแล้วไปเที่ยวเมืองนอก นั่นเป็นความสุขที่หยาบ 

เมื่อ เราเลิกกับแฟน เรามาเห็นตอนหลังว่า มีการควบคุม ไม่ว่าจะเรื่องเงิน เรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่ตอนที่อยู่ใกล้กันไม่คิดอะไร ตอนนั้นแฟนบอกว่า เมื่อเธอตัดสินใจเลิก ก็ไม่ต้องเอาอะไรไปสักอย่าง เราก็โกรธ ที่บอกว่ารักเราแปลว่าอะไร เราสนใจเรื่องจิตวิญญาณ แต่เขาไม่สนใจ แนวคิดไม่ตรงกันแล้ว 

จัดการกับความโกรธของตัวเองอย่างไรคะ
 ค่อยๆ เรียนรู้ สามปีที่แล้วเมื่อถึงวันครบรอบวันเกิด มักจะไปภาวนาและบอกตัวเองว่า ปีนี้จะไม่โกรธใครข้ามคืน เพราะคืนนี้อาจเป็นคืนสุดท้ายที่เรามีชีวิตอยู่ ถ้าเราคิดแบบนี้ เราจะตายเมื่อไหร่ก็ได้ ทุกๆ คืนเราจะทบทวนว่า มีอะไรค้างคาใจกับใคร ถ้าเราทำให้ใครเข้าใจผิด เราจะเคลียร์ ถ้ามีอะไรผิดพลาดก็ขอโทษ ทำทันทีเลย เพราะวันนี้เราอาจเดินออกไปถูกรถชนตายก็ได้ 

เราเคยเสียใจที่ไม่ได้บอกพ่อว่า เราโกรธพ่อแต่เราก็รักพ่อ การตายของพ่อและไม่ได้เจอพ่อเป็นอะไรที่ติดใจเรา กว่าจะหลุดจากความคิดนี้ต้องภาวนากว่าสิบปี ความตายจะพรากเราเมื่อไหร่ก็ได้ งานอีกส่วนเราทำเรื่องช่วยเหลือเพื่อนที่ใกล้ตาย ถ้าเราทำตรงนี้บ่อยๆ เราจะชัดมากในเรื่องชีวิตว่าอะไรสำคัญที่สุด ความโกรธเล็กนิดเดียว  เราไม่กลัวความตาย แต่กลัวตายไม่มีสติ

นอกจากการอบรมคนทำงานเพื่อสังคมในหลายเรื่อง อีกมุมหนึ่งคุณก็นำการประท้วงโดยใช้สันติวิธี ลองเล่าถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาให้ฟังสักนิด

เราทำงานกับกลุ่มเกย์ เลสเบี้ยน กะเทยด้วย มีอยู่วันหนึ่งกลุ่มนี้และเยาวชนเดินรณรงค์ให้มีการใช้ถุงยางอนามัยเวลามี เพศสัมพันธ์ และมีเหตุการณ์กลุ่มคนเสื้อแดงไม่พอใจกับงานลักษณะนี้จึงขว้างของเข้ามา ตอนนั้นพวกเราก็นั่งภาวนาในวัด กลุ่มนี้เราฝึกพวกเขาทุกวัน เราบอกว่า ถ้าใครไม่อยากนั่งให้กลับบ้าน เราก็นั่งอยู่ตรงนั้น โดนด่าโดนขว้างของ นั่นคือการเผชิญกับความเกลียด แต่เราไม่โต้ตอบด้วยความเกลียด

แล้วเป็นอย่างไรคะ  
สองชั่วโมงกว่า ตอนนั้นก็เจรจาให้คนข้างในขอโทษ ซึ่งเป็นความคิดที่แย่มาก ตำรวจ 150 คนไม่ป้องกันพวกเรา แล้วคนข้างในก็จุดเทียนร้องห่มร้องไห้กัน นี่ก็เป็นเหตุผลหนึ่งที่ปีหน้าเราจะลุกขึ้นมาสอนสันติวิธี เพราะเราไม่เห็นด้วยกับความรุนแรงทุกรูปแบบ สันติวิธีไม่ใช่แค่การพูดกันในห้องสัมมนาเท่านั้น เราต้องออกมาตรงถนน

ทำไมสันติวิธีใช้ไม่ได้ในสังคมไทย
ต้องแยกสอง ประเด็น คือ สันติวิธีในการปฏิบัติการ หรือสันติวิธีในการคุยเจรจาในห้องประชุม การปลุกเมล็ดพันธุ์ความเกลียดอีกฝ่ายหนึ่งที่คิดต่างจากเรา คือต้นตอความรุนแรง แล้วบอกว่าฉันดีกว่าเธอ เขานั่นแหละเลว เมื่อเราเกลียดและคิดว่า เขาแย่กว่าเรา เราดีกว่าเขา นี่คืออัตตา

การให้การศึกษาไม่จำเป็นต้องบอกว่าอีกฝ่ายเลว สันติวิธีต้องมองเรื่องจิตวิญญาณ ไม่อย่างนั้นเราจะคิดเรื่องเทคนิค ถ้าเราปลุกระดมความเกลียด ความโกรธอีกฝ่าย เราจะเห็นอีกฝ่ายเป็นมนุษย์หรือ

ลองยกกรณีการใช้สันติวิธีที่ได้ผลให้ฟังสักนิด
ตอนที่นักศึกษายุค 14 ตุลาเรียกร้องด้วยมือเปล่า นั่นเป็นสันติวิธีระดับสังคม ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลง จริงๆ เรื่องนี้มีอยู่ในสังคมตลอด แต่สื่อฯไม่สนใจเรื่องพวก นี้ มีสันติวิธีในชุมชนที่ชาวบ้านออกมาเรียกร้องไม่เห็นด้วยหลายเรื่อง อาทิ ปัญหาการทิ้งขยะในชุมชน

คอร์สที่อบรมใช้วิธีการอย่างไรเพื่อไปสู่แนวทางแก้ปัญหาสังคม
เราเป็นองค์กรที่ไม่มีเงินทุน บางทีพวกให้ทุนแล้วบอกว่า เราต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ ทั้งๆ ที่เราทำมาตั้งนานแล้ว พวกฝรั่งก็ไม่ได้รู้เรื่องจิตวิญญาณ คนที่มาเรียนเป็นคนทำงานเพื่อสังคมมีทั้งพุทธ คริสเตียน มุสลิม และฮินดู  และกลุ่มทำงานสาธารณสุข คนที่มีสติทุกลมหายใจไม่เกี่ยวกับความเป็นพุทธ  

ตอนนี้สอนทุกเดือน เดือนละสองคอร์ส บางครั้งคอร์สละสิบวัน มีคอร์สสอนไปถึงปลายปีหน้า ทั้งคนไทยและต่างชาติ งานหนักมาก เพราะคนทำงานโดยใช้ฐานจิตวิญญาณมีน้อย  

อีกอย่างคือ เอ็นจีโอที่ทำงานกับความกดขี่ตลอดเวลา คนพวกนี้ก็สะสมความโกรธ ถ้าคุณโอบอุ้มความโกรธของคุณไม่ได้ แล้วคุณจะไปโอบอุ้มความโกรธของใครได้ ถ้าคุณไม่มีฐานเรื่องจิตวิญญาณ ทำไปสักพักก็จะมีปัญหาตัวตน เรื่องชื่อเสียง เงิน ตำแหน่ง หรือไม่ก็ทะเลาะกันเอง ซึ่งฐานอันนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องศาสนาพุทธหรือศาสนาใด แต่เป็นจิตที่เบิกบาน รักเพื่อนมนุษย์และรู้จักการให้อภัย

ทำไมต้องใช้จิตวิญญาณเป็นฐานในการทำงานคะ
ต้องกลับ มาที่จิตใจ คนทำงานต้องมีความอ่อนโยนและมีเมตตา เราจะใช้สมองอย่างเดียวไม่ได้ ถ้าคุยกันโดยใช้ความคิด มันไม่มีจุดที่ทำให้เรามาเจอกัน เพราะฐานความคิดมาจากความเชื่อไม่เหมือนกัน ถ้าเราพูดเรื่องความรู้สึก มันมีจุดเจอกันได้ เราไม่ได้พูดว่าอะไรถูกหรือผิด เพราะความทุกข์มันกระแทกหัวใจเราทุกคน 

ชีวิตเราผ่านประสบการณ์มาเยอะ เรามีพี่สาวติดแอลกอฮอล์ เคยทำงานกับคนมีปัญหาทั้งชนกลุ่มน้อย คนยากจน กลุ่มเกย์ คุณมาถามเลยว่า เราไม่เคยเจอปัญหาอะไรบ้าง เคยมีผู้หญิงฝรั่งคนหนึ่งมีปัญหา ไม่พูดกับแม่มา 20 ปี เราก็เข้าใจ เพราะเราก็ไม่พูดกับพ่อ แต่เราบอกว่า คุณจะกอดความโกรธจนตายหรือ ผู้หญิงฝรั่งคนนั้นร้องไห้ หรืออย่างผู้ติดเชื้อ พอเปิดเผยตัว แม่ไล่ออกจากบ้านก็อยากฆ่าตัวตาย เพราะในสังคมไทยไม่มีกระบวนการที่ทำให้คนเข้าใจปัญหา กระบวนการของพระที่สอนหรือ เทศน์ สวดมนต์เป็นภาษาบาลี คนไม่เข้าใจหรอก

เราเคยจัดคอร์สและทำงานช่วยเหลือชาวลาดัก เขาพูดในที่สาธารณะไม่ได้ เราก็จัดคอร์สให้ 5 วัน 10 วัน เขาบอกไม่มีเงิน เราก็เขียนโครงการให้ ถ้าไม่มีคนสอนเรื่องความขัดแย้งในองค์กร เราก็ส่งเพื่อนในเครือข่ายพุทธไปให้ แล้วก็ให้กำลังใจ เราเคยพาภิกษุณีไปดูผู้หญิงในบาร์อาโกโก้ เพื่อให้เข้าใจว่า ผู้หญิงเหล่านี้ไม่มีโอกาสเหมือนคุณ ไม่ใช่นั่งอยู่ในวัดแล้วบอกว่า ขอให้สรรพสัตว์พ้นทุกข์ ทำแบบนี้ก็ดีแต่ไม่พอ เราต้องออกไปที่ถนน 

คำสอนพุทธศาสนาเถรวาทจะสอนเรื่องการปฏิบัติจนหลุดพ้นคนเดียว ส่วนพุทธมหายานไม่ใช่ อย่างในเกาหลีบางวัด ตื่นเช้ามานักบวชต้องออกไปล้างส้วมสาธารณะที่สถานีรถไฟ หรือไปช่วยอาบน้ำให้คนขอทาน พุทธสายเซนจะปฏิบัติจากการทำงานเพื่อลดตัวตน

Source : คอลัมน์ Life Style : Society วันที่ 12 ธันวาคม 2552 

แด่นายกรุณา กุศลาสัย

แด่นายกรุณา กุศลาสัย

Author : ส.ศิวรักษ์

นายกรุณา กุศลาสัย (10 พฤษภาคม 2463 – 13 สิงหาคม 2552) ตายจากไป ณ บ้านลูกชาย ทางฝั่งธนบุรี เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2552 ซึ่งตรงกับวันพระ แรม 8 ค่ำ เดือน 9 ปีฉลู ค.ศ. 2009 นับอายุได้ 89 ปีเศษ โดยไม่ได้เจ็บไข้ได้ป่วยเอาเลยก็ว่าได้ คือสิ้นลมปราณไปอย่างสงบ เพราะสิ้นอายุขัย นับว่าเป็นกุศลสมาจาร ซึ่งหาได้ยากในสมัยปัจจุบัน และการจากไปของบุรุษอาชาไนยของสยามผู้นี้ ก็ดูจะไม่เป็นที่สนใจของผู้คนในกระแสหลักของสังคม ซึ่งคงลืมเขาไปเสียแล้วก็ได้ ทั้งๆ ที่เขามีคุณูปการกับบ้านเมืองมามิใช่น้อย และวิถีชีวิตของเขาก็เป็นแบบอย่างในทางของปูชนียบุคคลที่หาได้ยาก หากสมัยนี้ เราไม่ยกย่องเชิดชูคนดีกันอีกแล้ว เราสนใจแต่คนเด่นคนดังและคนที่มีชาติวุฒิอันจอมปลอม หรือคนที่สวมหัวโขนอันโก้หรูไว้ หากภายในหน้ากากนั้นเต็มไปด้วยความกักขละและโสมม มากบ้างน้อยบ้างแทบทุกคน พร้อมกันนั้น เราก็ต้องตราไว้ว่า นายกรุณาไม่ต้องการเกียรติยศชื่อเสียงใดๆ ไม่ต้องการอนุสาวรีย์ หรือคำยกย่องสรรเสริญใดๆ ตามสมัยนิยม หากเขาปิดทองหลังพระมาเกือบจะโดยตลอด และเขาต้องการให้ชื่อเสียงของเขาจางหายไปตามทางของพระอนัตตลักษณะ โดยเขาเป็นคนที่ติดยึดในตัวตนน้อย พร้อมที่จะยกย่องเชิดชูผู้อื่น โดยที่เขาเคยได้รับเกียรติยศจากภารตประเทศ ยิ่งกว่าจากประเทศบ้านเกิดเมืองนอนของเขา ซึ่งนอกจากจะเนรคุณเขาด้วยการจำจองเขาเป็นเวลานาน โดยหาความผิดไม่ได้แล้ว ยังเมินเขาเสียอีกก็ว่าได้ ทั้งนี้รวมถึงสถาบันที่เขามีส่วนร่วมปลุกปั้นมาแต่แรกด้วย เช่น มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และอาศรมไทยภารตะ  

การที่เขาได้เป็นศิลปินแห่งชาติ หรือรางวัลศรีบูรพานั้น ก็หามีความสำคัญอันใดไม่ เพราะการยกย่องผู้คนในสังคมไทย ขาดมาตรฐานอันมุ่งที่ความเป็นเลิศอย่างแท้จริง

อัตชีวประวัติของเขาเรื่อง ชีวิตที่เลือกไม่ได้ นั้น เขียนเล่าให้ลูกๆ ฟัง อย่างอ่อนน้อมถ่อมตน และอย่างน่ารับฟัง แถมเขายังแปลเป็นภาษาอังกฤษให้ได้รับรู้กันในวงกว้างออกไปยังนานาชาติอีกด้วย แต่ถ้าเราอ่านในระหว่างบันทัดก็จะเห็นได้ ว่าชีวิตของเขา เป็นชีวิตที่เขาเลือกได้ และเลือกแล้ว ที่จะเป็นคนเอาชนะอุปสัค และความยากจน หากเขาเลือกเดินตามทางของสาธุชน ด้วยวิริยะ อุตสาหะ โดยเขาแสวงหากัลยาณมิตรได้มาตลอด และเขามองคนในแง่ดี  แม้จะเห็นข้อบกพร่องของบุคคลนั้นๆ เขาก็เข้าใจและให้อภัย ประกอบไปด้วยความอดทน ความอดกลั้น และความเมตตากรุณาที่มีอยู่ในตัวเขา สมกับชื่อที่เขาตั้งให้ตัวเอง จากชื่อเดิมว่ากิมเฮง และนามสกุลของเขา ก็ยืนยันว่าเขาพึ่งพิงอยู่กับกุศลสมาจารอย่างแท้จริง

การที่เขาบวชเณรเมื่ออายุ 13 ปี แล้วเดินตามพระโลกนาถ (ภิกษุอเมริกัน เชื้อสายอิตาเลี่ยน) ไปจนถึงอินเดียนั้น นับว่าเป็นความวิเศษมหัศจรรย์อันไม่มีผู้ใดเหมือน เพราะพระเณรที่ตามพระโลกนาถไปเป็นจำนวนมากนั้น ไม่ว่าจะปัญญานันทะภิกขุ หรือใครก็ตาม ล้วนเลิกล้มความตั้งใจกันกลางคันทั้งนั้น โดยมักจะกล่าวหาว่าพระฝรั่งหูเบา เพื่อนสหธรรมิกปราศจากสามัคคีธรรม หรือต่างก็ปราศจากขันติธรรมจนถึงขนาดก็ได้ แต่นายกรุณาไม่เคยโอ้อวดถึงความมหัศจรรย์ที่เขาเดินทางจนถึงจุดหมายปลายทาง แม้ญาติโยมทางพม่าจะชวนให้เณรน้อยสึกหาลาเพศ แถมจะยกลูกสาวให้ที่ประเทศนั้นเสียด้วยซ้ำไป

ทัศนะของนายกรุณาที่มีต่อพระโลกนาถนั้นเป็นไปในทางบวก อย่างเคารพนับถือ และยกย่องสรรเสริญ  จนตลอดชีวิต ในขณะที่พระไทยส่วนใหญ่ไม่เห็นคุณค่าของพระคุณท่าน ดังพระไทยส่วนใหญ่ก็ไม่ได้เห็นคุณค่าของพระฝรั่งมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เพราะถือตนว่าสูงส่งกว่าท่านนั้นๆ ดังท่านพระญาณดิลก (ชาวเยอรมัน) ก็เขียนเล่าไว้ในอัตชีวประวัติท่านอย่างน่าพิจารณา โดยที่เราเพิ่งมาเห่อพระฝรั่งสายท่านพระอาจารย์ชา สุภัทโทกันเมื่อเร็วๆ นี้เอง แต่พระมหาเถระที่อิจฉาท่านนั้นๆ ก็ยังมีอีกมาก และฆราวาสที่เห่อพระฝรั่งสายนี้ ก็ดูจะเป็นคุณหญิงคุณนาย และพวกที่ชอบความทันสมัยเสียแหละมากกว่าอะไรอื่น ที่จะให้ใครพวกนี้สนใจถึงโครงสร้างทางสังคมอันอยุติธรรมและรุนแรง แทบจะหาไม่ได้เอาเลย และพระสายนี้ก็ไม่เคยสอนธรรมในแนวนี้ ทั้งๆ พุทธมามกะซึ่งเป็นชนชั้นสูงในสังคมไทยนี้แลคือเป็นส่วนที่สำคัญอันธำรงโครง สร้างอันอยุติธรรมดังกล่าวไว้ ถ้าตีประเด็นนี้ไม่แตก ศีลจักเป็นความเป็นปกติของบุคคลและสังคม ตามความหมายที่แท้ ที่พระบรมศาสดาตรัสสอนไว้ได้ละหรือ

ว่าจำเพาะนายกรุณา เมื่อยังบรรพชาเป็นสามเณรอยู่ในชมภูทวีปนั้น ได้เรียนภาษาฮินดี บาลี สันสกฤต และอังกฤษ อย่างลำบากยากเข็ญ และด้วยวิริยะอุตสาหะ ประกอบกับสติปัญญาซึ่งแฝงความเป็นเลิศไว้ จนสอบได้ภาษาฮินดีเป็นที่หนึ่งของประเทศเอาเลย และได้เข้าเรียนในสันตินิเกตันของท่านรพินทรนาถ ฐากูร ร่วมสมัยกับนายเฟื้อ หริพิทักษ์ ดังอาจถือได้ว่ารัตนมณีของไทยทั้งคู่นี้ได้รับการเจียรไนที่สถาบันการศึกษานอกระบบของอินเดียอย่างเหมาะสมยิ่ง และอาจกล่าวได้ว่าคนที่ไปเรียนอินเดียต่อแต่นั้นมา จะหาใครที่เข้าถึงอารยธรรมของภารตประเทศอย่างถ่องแท้ดังนายกรุณา คงหาได้ยาก ส่วนมากไปรับเอากากเดนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ของประเทศนั้นมาอย่างกึ่งดิบกึ่งดี โดยที่หาความเป็นเลิศได้ยากเต็มที นี้นับว่าน่าละอายยิ่งนัก

ในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่แล้ว คนสำคัญของไทย เกือบจะไม่ไปอินเดียกัน มีสองท่านผู้ใหญ่ที่ไปและได้พบสามเณรกรุณา โดยที่ทั้งสองท่านนี้ชื่นชมเณรหนุ่มรูปนี้ทั้งคู่ ดังสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ถึงกับทรงรับเป็นโยมอุปัฎฐาก และสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ ตรัสชวนให้สามเณรไปอยู่วัดบวรนิเวศ โดยไม่ทรงรังเกียจความเป็นมหานิกายของเธอ ส่วนพุทธทาสภิกขุนั้นได้ติดต่อทางจดหมายกับเณรน้อยรูปนี้ อย่างต่างก็รับฟังจากกันและกัน และได้เป็นกัลยาณมิตรกันตลอดมา

น่าเสียดายที่สามเณรกรุณาต้องลาสิกขา เพราะไทยประกาศสงครามกับอังกฤษ ซึ่งปกครองอินเดีย นายกรุณาจึงถูกจองจำในฐานะชนชาติศัตรู เฉกเช่นนายเฟื้อ หริพิทักษ์ด้วยเหมือนกัน

ในค่ายกักกันนี้แล ที่หนุ่มกรุณาพบรักครั้งแรกกับสาวญี่ปุ่น ที่เป็นชนชาติศัตรูของอังกฤษเช่นเดียวกับไทย หากแล้วก็แคล้วคลาดกันไป โดยที่นายเฟื้อนั้นถูกพรากไปจากศรีภรรยา คือ ม.ร.ว. ถนอมศักดิ์ กฤดากร จนเกิดอาการวิกฤตศรัทธา ถึงกับไปรับเอาพระนารายณ์เป็นเจ้ามาเป็นสรณะ ดังได้เปลี่ยนนามสกุลจากทองอยู่ มาเป็นหริพิทักษ์

เมื่อเสร็จสงครามแล้ว อังกฤษเอาเชลยไทยส่งคืนประเทศ แต่อ่าวไทยยังเต็มไปด้วยทุ่นระเบิด อังกฤษจึงปล่ยนายกรุณาไว้ที่สิงคโปร์ ให้เดินนับหมอนไม้รถไฟกลับกรุงเทพฯ ผ่านประเทศมลายู ซึ่งเขาเล่าว่าได้รับความเมตตาปราณีจากเพื่อนมุสลิมในประเทศนี้อย่างดียิ่ง

นายกรุณาเริ่มทำงานให้สถานทูตอินเดียที่กรุงเทพฯ เมื่อประเทศนั้นเปิดสัมพันธไมตรีกับไทย หลังจากที่อินเดียได้รับเอกราช และเขาร่วมสอนภาษาสันสกฤตและฮินดีให้ที่อาศรมไทยภารตด้วย และจากการสอนภาษาฮินดีนี้แล ที่ศิษย์สาวคนหนึ่งเกิดสมัครรักใคร่กับครู จนได้เป็นสามีภรรยากัน และอยู่กินด้วยกันอย่างเป็นคู่ชีวิตที่หาคู่อื่นใดเสมอเหมือนได้ยาก ดังต่อมานางเรืองอุไร  ผู้ภริยาตาบอด สามีก็ปรนนิบัติวัตถากอย่างใกล้ชิด เวลาภริยาไปประชุมที่ราชบัณฑิตยสถาน สามีก็พาไปส่งและรับกลับ หากทั้งคู่ไม่ยอมสมัครเป็นภาคีสมาชิกของสถาบันดังกล่าว เพราะทั้งคู่เห็นว่าการเป็นราชบัณฑิตด้วยการกระเสือกกระสนไปให้เขาเลือกมาอีกทีนั้น เป็นเกียรติยศที่จอมปลอม แม้ทั้งคู่จะเก็บความข้อนี้ไว้อย่างเงียบๆ ก็ตาม ดังทั้งคู่นี้ไม่ยอมเปิดปากวิพากษ์วิจารณ์อะไรๆ ให้เป็นที่อื้อฉาว แต่ก็อดบอกความในใจให้กัลยาณมิตรวงในรับทราบไว้ด้วยเนืองๆ

ดังมติเกี่ยวกับการตั้งเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษดิ์เป็นรูปแรกนั้น กัลยาณมิตรของนายกรุณาก็มีส่วนอย่างสำคัญ ดังท่านผู้นั้นก็ยอมรับว่า เขาเลือกพระผิดเสียแล้ว ที่จริงเขาเสนอชื่อพระอาจารย์ขาว แต่ท่านรูปนั้นปฏิเสธโดยที่คนในสมัยนี้ก็คงลืมพระอาจารย์ขาวไปแล้ว ดังที่คนก็จะลืมชื่อนายกรุณา ซึ่งได้รับใช้ใกล้ชิดเจ้าคุณพระพิมลธรรม (อาจ) แต่สมัยท่านมีบทบาทกับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในยุคบุกเบิกอย่างสำคัญ โดยพระอาจารย์ขาวก็เป็นอาจารย์สอนกัมมฐานที่สถาบันการศึกษาแห่งนั้นมาแต่สมัยแรกด้วย โดยที่นายกรุณากับเจ้าคุณพระพิมลธรรม (อาจ) นั้น นอกจากจะเป็นศิษย์กับอาจารย์กันแล้ว ยังเป็นกัลยาณมิตรของกันและกันอีกด้วย นายกรุณากล้าเตือนพระคุณท่านได้อย่างจังๆ จนภายหลังข้าพเจ้าก็อาศัยนายกรุณาส่งสารถึงพระคุณท่านได้ง่าย และอาจวิพากษ์วิจารณ์พระคุณท่านได้ด้วย หากพระผู้ใหญ่มีกัลยาณมิตร เป็นปรโตโฆษะ พระเถระนั้นๆ ก็ย่อมเจริญโยนิโสมนสิการได้ น่าเสียดายที่พระมหาเถระร่วมสมัยขาดกัลยาณมิตรกันแทบทั้งนั้น แถมยังไม่เจริญโยนิโสมนสิการอีกด้วย ความเป็นสมีและอลัชชีจึ้งเข้าครอบงำท่านผู้ทรงสมณศักดิ์สูงๆ เหล่านั้นกันอย่างน่าเสียดาย รวมทั้งในมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยอีกด้วย

นายกรุณาเป็นกัลยาณบุคคลที่มีกัลยาณมิตรมาตลอดชีวิต ตั้งแต่พระโลกนาถเป็นต้นมา จนถึงศรีภริยา ส่วนเพื่อนร่วมงานที่เป็นกัลยาณมิตรคนสำคัญนั้นมี 2 คนคือ นายสังข์ พัธโนทัย และนายอารี ภิรมย์  โดยที่ทั้งคู่นี้เคยทำงานอยู่ที่กรมโฆษณาการ ซึ่งต่อมากลายเป็นกรมประชาสัมพันธ์ นายสังข์ ใกล้ชิดกับจอมพล ป. พิบูลสงคราม จนมีชื่อเสียงมัวหมองตามเผด็จการผู้นั้น แต่ด้วยความซื่อสัตย์จงรักภักดีกับเจ้านาย นายสังข์สามารถเกลี้ยกล่อมให้จอมพล ป. หันมาสนใจขบวนการกรรมกร และใช้นายสังข์เป็นนกต่อให้ หาทางสัมพันธ์กับสาธารณรัฐประชาชนจีน นายสังข์จึงต้องมาวานนายกรุณาและนายอารี ซึ่งเป็นเจ้าของโรงเรียนจีนด้วย และมีเส้นสายกับสมาชิกของพรรคคอมมูนิสต์จีน  เป็นเหตุให้นายกรุณาและนายอารี เป็นทูตรุ่นแรกที่ได้ไปเมืองจีน จนได้พบโจเอินไหลและเมาเซตุง ดังทั้งคู่นี้เขียนเล่าไว้แล้ว และบำเหน็จที่ทั้งคู่นี้ได้รับคือการถูกจอมพล ส. ธนรัตน์จองจำไว้ในคุกลาดยาวเป็นเวลานาน ครั้นเมื่อไทยเปิดสัมพันธไมตรีกับจีนอย่างเป็นทางราชการ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นักฉวยโอกาสที่เคยเกลียดจีนมาอย่างออกหน้า ก็ได้กลายเป็นพระเอกขี่ม้าขาวไปแสดงบทบาทอย่างเป็นที่ชื่นชมของทั้งจีนและไทย ในขณะที่นายอารีและนายกรุณาถูกลืมไปนั้นแล

ทางด้านภารตวิทยานั้น นายกรุณาและนางเรืองอุไร ผู้ภริยา ได้ผลิตผลงานออกมามิใช่น้อย ทั้งยังช่วยคนอื่นๆ ที่ต้องการเรียบเรียงเรื่องทางชมภูทวีปทุกๆ คน ที่ไปขอความอนุเคราะห์ ดังข้าพเจ้าก็ได้เป็นหนี้บุญคุณท่านทั้งสองนี้มาเป็นอันมาก

ใช่แต่เท่านั้น นายกรุณายังเป็นญาติทางข้างภริยาข้าพเจ้า มีอะไรๆ ที่ท่านและภริยาจะช่วยเหลือเกื้อกูลครอบครัวของเรา ท่านเต็มใจทำให้อย่างเต็มที่ ทั้งท่านยังช่วยกิจการของข้าพเจ้าทางมูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป และมูลนิธิโกมลคีมทองอีกด้วย  ยิ่งมูลนิธิที่เอ่ยชื่อมาแต่แรกด้วยแล้ว สามีภริยาคู่นี้เคารพนับถือท่านเสฐียรโกเศศกับท่านนาคะประทีป ทั้งทางส่วนตนและส่วนรวม ดังอาจนับว่าทั้งคู่นี้สืบทอดเจตนารมณ์ของท่านเสฐียรโกเศศ และท่านนาคะประทีป ต่อมาอีกชั่วคนหนึ่งเอาเลยก็ว่าได้ ส่วนมูลนิธิโกมลฯ นั้นเล่า ก็มีเป้าหมายในการอุดหนุนอุดมคติสำหรับคนหนุ่มสาว ย่อมเป็นที่ชอบใจของนายกรุณาและศรีภริยายิ่งนัก

นายกรุณากินอยู่อย่างเรียบง่าย ทำโยคะเป็นกิจวัตรประจำวัน ในบั้นปลายแห่งชีวิต นายกรุณามีอาการหลงลืมบ้าง แต่ก็ไม่เลวร้ายนัก เคยไปพักบ้านคนชราเป็นบางคราว แล้วก็ได้กลับมาอยู่บ้านลูกชาย จนตายจากไปที่นั่นอย่างสงบ

การที่นายกรุณาตายจากไปคราวนี้ ที่น่าสงสัยก็คือ เราจะทำอะไรได้บ้าง เพื่อช่วยกันสรรสร้างให้มีคนอย่างนี้อยู่ร่วมสมัยกับเราต่อๆไป ทั้งในช่วงอายุเราและรุ่นลูกรุ่นหลานของเราด้วย ให้เขาเหล่านั้นได้เป็นทั้งคนดี ที่มีความรู้ และอุทิศตนเพื่อส่วนรวมอย่างปิดทองหลังพระ ดังที่เราสืบทอดวัฒนธรรมดังกล่าวกันมาในบ้านเมืองเราแต่ไหนแต่ไร ถ้าเราไม่อาจหาคนดีที่เป็นปูชนียบุคคลได้ โดยมีแต่คนกึ่งดิบกึ่งดีแล้วไซร้ ก็น่าห่วงอนาคตของสังคมไทยยิ่งนัก

ด้วยเหตุฉะนี้ พวกเราหลายคนที่เคารพท่านทั้งสองนี้ จึงคิดตั้งกองทุนขึ้นในนามว่า กองทุนกรุณา-เรืองอุไร กุสลาศัย เพื่อความเป็นไท ของเด็กและเยาวชน ผู้ที่สนใจใคร่ทราบวัตถุประสงค์ และนโยบายของกองทุนดังกล่าว อาจติดต่อขอรายละเอียดได้จาก www.semsikkha.org,  www.snf.or.th โดยที่จะบริจาคทรัพย์เป็นส่วนกุศลแด่ท่านทั้งสองนี้ก็ได้ ทางบัญชี มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป เพื่อกองทุนกรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย  ธนาคารไทยพาณิชย์  เลขที่บัญชี 024-269259-0 (หักภาษีได้ด้วย)