ความพร่องของอิสรภาพ : The Lack of Freedom

ความพร่องของอิสรภาพ : The Lack of Freedom

Author : Divid R. Loy

“เราเพียงแต่คิดถึงตัวเองว่าเป็นอิสระเท่านั้น ถึงจะสามารถรู้สึกว่าตัวเองมีพันธะได้ และเราเพียงแต่ต้องรู้สึกว่ามีพันธะเท่านั้น ถึงจะสามารถรู้สึกว่าตัวเองมีอิสระได้”
— Goethe
 
ถ้าเผื่อว่า”อิสรภาพ”คือคุณค่าสูงสุดของพวกเรา หากเป็นเช่นนั้น มันก็เป็นปัญหาอันหนึ่งเหมือนกัน. ในที่นี้เราจะมาทำการสำรวจถึง ปัญหาเกี่ยวกับอิสรภาพจากมุมมอง”ความพร่อง”(lack)ของชาวพุทธ
 
พุทธศาสนาให้เหตุผลว่า การสร้างอิสรภาพให้เป็นคุณค่าที่สำคัญที่สุดของเรา เป็นเรื่องที่อันตราย, สำหรับ”อิสรภาพ”มันถูกนึกคิดหรือเข้าใจโดยเอกเทศ ในมุมมองทางโลกหรือในเทอมต่างๆของมนุษย์เท่านั้น ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว จะก่อเกิดช่องว่างหรือเกิดรอยร้าว เพราะว่ามันไม่สามารถให้สิ่งที่เราแสวงหาจากมันได้อย่างแท้จริงนั่นเอง
 
ส่วนหนึ่งของการต่อต้านของเรา ซึ่งมีต่อข้อสรุปอันนั้น เนื่องมาจากความยุ่งยากในการพิจารณาเรื่องของอิสรภาพอย่างเป็นภววิสัย. อุดมคติอันนั้นเป็นส่วนหนึ่งของเรา ที่ค่อนข้างเกี่ยวพันอย่างลึกซึ้งกับวิธีการที่เราเข้าใจตัวของเราเองมาก ดังนั้นมันจึงยากที่จะเฝ้าดูมัน
 
“คุณค่าของอิสรภาพ”อันนี้มีประวัติศาสตร์อันหนึ่ง มากกกว่าจะเป็นเรื่องของธรรมชาติ, มันเป็นผลลัพธ์ของการสืบค้นอย่างถี่ถ้วนซึ่งสลับซับซ้อนและจะต้องทำการตรวจสอบอย่างละเอียด. ด้วยเหตุนี้ วิธีการเชิงเปรียบเทียบสามารถที่จะช่วยวาดเค้าโครงสถานการณ์ต่างๆของเราขึ้นมาได้ ที่ว่า ทำไมอุดมคติเกี่ยวกับอิสรภาพจึงได้เกิดขึ้นมาในตะวันตก และเมื่อไหร่และที่ไหน ที่มันมีการแสดงออกซึ่งอิสรภาพนั้น? คำถามต่อมาคือ มันตรงข้ามกับคุณค่าต่างๆขั้นปฐมของวัฒนธรรมที่ไม่ใช่ตะวันตกอย่างไร?
 
. . .
 
ความยุ่งยากอีกอันหนึ่งก็คือ “แนวความคิดที่แท้เกี่ยวกับอิสรภาพ” ซึ่งค่อนข้างเข้าใจยากมากๆ
 
มันเกือบเป็นไปไม่ได้ที่จะนิยามเรื่องของอิสรภาพในแบบที่น่าพอใจได้เลย สำหรับเหตุผลง่ายๆที่ว่า แนวความคิดที่เป็นนามธรรมนั้น ได้สูญเสียความหมายภายนอกบริบทต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับคำถามที่ว่า อิสรภาพจากอะไร… หรืออิสรภาพถึงอะไร…?
 
ในเรื่อง Freedom in the making of Western Culture(1991), Orlando Patterson ได้จำแนกสิ่งที่เราเรียกว่า ความรู้สึกเกี่ยวกับอิสรภาพเอาไว้สามระดับคือ :
 
1. ระดับส่วนตัว (personal) หมายถึง สามารถที่จะทำความพึงพอใจต่างๆได้ ภายใต้ข้อจำกัดต่างๆของความปรารถนาของคนอื่นที่จะกระทำสิ่งเดียวกัน
 
2. ระดับองค์อธิปัตย์ (sovereignal) หมายถึง อำนาจที่จะกระทำเพื่อความพึงพอใจต่างๆได้ โดยไม่เอาใจใส่ความปรารถนาของคนอื่นๆ
 
3. ระดับพลเมือง (civic) ความสามารถของสมาชิกในชุมชนหนึ่งที่จะมีส่วนร่วมในชีวิตและการปกครอง คำนิยามทั้งสามระดับนี้ ได้ก่อให้เกิดความตึงเครียดขึ้น ซึ่งไล่ตามประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอิสรภาพนับจากเริ่มต้นเลยทีเดียว. ถ้าหากว่าอิสรภาพคือความรู้สึกหนึ่ง มันก็จะไม่ถูกแก้ปัญหาอย่างแน่นอน
 
. . .
 
ข้อเท็จจริงที่โชคไม่ดีคือว่า ตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา มันเป็นเรื่องง่ายมากที่จะต่อสู้เพื่ออิสรภาพ มากยิ่งกว่าการอยู่อย่างอิสระ. ทำไมมันยังคงเป็นเช่นนั้นอยู่อย่างต่อเนื่อง ?
 
ในอินเดีย เป็นตัวอย่าง มุกติ(mukti – การปลดปล่อยเพื่อความหลุดพ้น เป็นอีกคำหนึ่งของโมกข์ษะ)ได้ถูกยอมรับกันมาเป็นเวลายาวนาน โดยสกุลความคิดเกือบทั้งหมดในฐานะซึ่ง เป็นเป้าหมายทางจิตวิญญานอันสูงส่งที่สุดของการหลุดพ้น
 
“นับจากการดำรงอยู่ของมนุษย์ โดยขนบประเพณี ถูกเข้าใจว่าเป็นวัฏฏะอันหนึ่งของการเวียนว่ายตายเกิดที่โปรยปรายไปด้วยประสบการณ์และความทุกข์ “อิสรภาพของตัวตน”สามารถที่จะได้รับการอธิบายในฐานะที่เป็นอิสรภาพจากวัฏฏะอันนี้ของสังสารวัฏ. ดังนั้น “อิสรภาพ”หรือ”มุกติ”(ความหลุดพ้น) จึงหมายความว่า อิสรภาพจากความไม่รู้เกี่ยวกับตัวตน นั่นคือ อวิชชา, อิสรภาพจากกิเลส ตัณหา หรือ กลิศ, อิสรภาพจากความทุกข์หรือ ทุกขา, และในท้ายที่สุด อิสรภาพจากความตายและกาลเวลา บรรดาชาวพุทธทั้งหลาย, ผู้นับถือศาสนาเชน, และเหล่าโยคีเข้าใจอุดมคติเกี่ยวกับอิสรภาพจากข้อจำกัดต่างๆของความรู้ด้วย, ขณะที่สิทธา แสวงหาอิสรภาพจากข้อจำกัดต่างๆของธรรมชาติทั้งหมด”
 
เราอาจยกคำถามหรือข้อสงสัยบางอย่างขึ้นมาเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยพลิกแพลงการวิจารณ์ในแนวพุทธเกี่ยวกับอัตตา-ตัวตน(ego-self)มาใช้: การดำรงอยู่ของอัตตาตัวตนในเชิงสมมุติซึ่ง, เป็นเพราะมันเข้าใจตัวมันเองในฐานะที่แยกขาดออกจากโลก, บ่อยครั้ง ได้ถูกครอบครองมาก่อนหน้านั้นแล้ว ด้วยการปลดปล่อยตัวของมันเองจากพันธะต่างๆที่ผูกมัดมันไว้กับโลก
 
สำหรับพุทธศาสนา, อัตตาไม่ใช่ความสำนึกเกี่ยวกับตัวตนที่มีอยู่ แต่เป็นการสร้างขึ้นมาของจิต, ความรู้สึกเกี่ยวกับตัวตนที่เปราะบาง ซึ่งหวาดกลัวตัวของมันเองในความไม่มีอยู่
 
ปัญหาของพวกเราเกิดขึ้นเพราะ “ฉัน” ที่กำหนดเงื่อนไขความสำนึกต้องการจะวางรากฐานตัวของมันเอง – – ยกตัวอย่างเช่น ทำให้ตัวมันเองเป็นจริงขึ้นมา. ความล้มเหลวมาโดยตลอดของมันที่จะทำเช่นนั้น หมายความว่า ความรู้สึกเกี่ยวกับตัวตนเกิดความรู้สึกหนึ่งขึ้นมาเกี่ยวกับความพร่อง(a sense of lack) คล้ายกับเงาที่ไม่อาจหนีรอดได้ ซึ่งมันมักจะพยายามที่จะหนีไปให้รอด
 
. . .
 
การตีความเรื่องความพร่องเกี่ยวกับคำสอนเรื่อง”การไม่มีตัวตน”ของชาวพุทธ มีนัยะสำคัญอยู่สองประการสำหรับหนทางที่เรามองเรื่องของอิสรภาพ
 
ประการแรก, วัฒนธรรมใดก็ตามที่เน้นความเป็นปัจเจกของตัวตน จะวางคุณค่าสำคัญยิ่งให้กับ”อิสรภาพ”หรือ”เสรีภาพของตัวตน”เอาไว้สูงสุดอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้. ปกติแล้ว อิสรภาพได้ถูกนิยามในฐานะที่เป็นการกำหนดควบคุมชีวิตของตนเอง และในทางนิรุกติศาสตร์(de+terminus, to limit, set boundaries)เผยให้เห็นนัยะเกี่ยวกับการสถาปนาเขตแดนต่างๆ ระหว่างตัวตนและไม่มีตัวตนขึ้นมา
 
ในที่นี้ ไม่เป็นที่น่าประหลาดใจที่ว่า นับจากการเริ่มต้นของมัน “ประวัติศาสตร์เกี่ยวกับอิสรภาพ”ของตะวันตก ได้ถูกนำไปสัมพันธ์เชื่อมโยงกับพัฒนาการเรื่อง”ตัวตน”อย่างแข็งแกร่ง หรือนำเสนอมันในอีกช่องทางหนึ่ง กับการเพิ่มขึ้นของ ตัวตน-วัตถุ ในลักษณะทวิลักษณ์
 
ในขอบเขตอันนั้น อิสรภาพถูกเข้าใจในฐานะที่เป็นอิสรภาพจากการควบคุมภายนอก, การแบ่งแยกอันหนึ่งที่ถูกให้นัยะระหว่างภายใน(ที่ซึ่งต้องการเป็นอิสระ) และภายนอก(ที่ซึ่งได้รับอิสระจาก). อันนี้เป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะสิ่งที่ Patterson เรียกว่า”stillbirth” of freedom(การแท้งของอิสรภาพ)ภายนอกสังคมตะวันตก ถูกทำให้สัมพันธ์กับข้อเท็จจริงที่ว่า บรรดาสังคมที่ไม่ใช่ตะวันตก มีแนวความคิดที่แตกต่างออกไปเกี่ยวกับเรื่องตัวตน และความสัมพันธ์ของมันกับสิ่งอื่นๆ
 
ประการที่สอง, และสมมุติฐานซึ่งเป็นงานหลักของบทความชิ้นนี้ก็คือว่า ถ้าการดำรงอยู่ของตัวตนและ ความมีอิสระเกี่ยวกับความรู้สึกของตัวตนเป็นมายาการอันหนึ่งดังที่พุทธศาสนาอ้าง หากเป็นเช่นนั้นจริง ตัวตนดังกล่าว ก็จะไม่สามารถประสบกับตัวของมันเองมากพอสำหรับตัวตน – – นั่นคือ มันจะไม่เคยรู้สึกเป็นอิสระพอ. มันจะพยายามแก้ปัญหาความพร่องของมัน โดยการขยายปริมณฑลเกี่ยวกับอิสรภาพของตัวเองออกไป กระนั้นก็ตาม นั่นไม่สามารถที่จะกว้างขวางพอต่อความสุขกายสบายใจ
 
ลักษณะที่เป็นพลวัตอันนี้ ได้ช่วยก่อเกิดสิ่งที่เรารู้จักในฐานะที่เป็นประวัติศาสตร์ของตะวันตก: การแสวงหาอันไม่เคยสิ้นสุดเพื่อ”ลักษณะที่แท้จริง”; ยกตัวอย่างเช่น ความสมบูรณ์, อิสรภาพส่วนบุคคล. แต่มันสามารถจะเป็นอย่างนั่นได้ล่ะหรือ, ถ้ามันไม่มีตัวตน”ที่แท้จริง”ที่จะมีสิ่งเหล่านั้นได้ ?

Source : ผลงานวิชาการ ปรัชญาตะวันตก-ในมุมมองตะวันออก เรื่อง “ความพร่องของอิสรภาพ”(The Lack of Freedom) เขียนโดย David R. Loy : Bunkyo University https://midnightuniv.tumrai.com/miduniv888/newpage17.html