อภิมหาวาทกรรม ‘ปัญญาชน คนรากหญ้า’ กับข้อสังเกตบางประการ

อภิมหาวาทกรรม 'ปัญญาชน คนรากหญ้า' กับข้อสังเกตบางประการ

Author : รัฐพล เพชรบดี

ถ้าคำถามที่ว่า “ไก่กับไข่ อะไรหนอที่เกิดก่อนกัน” นับเป็นปัญหาที่เรียกว่า ‘โลกแตก’ ฉะนั้นคำุถามที่ว่า “ปัญญาชนกับคนรากหญ้า ใครหนอซื่อบื้อกว่ากัน (ในสภาวะหลังสมัยใหม่)” ก็อาจนับว่าเป็นปัญหาโลกแตกได้เ่ช่นเดียวกัน ตรงนี้หมายถึงอะไร” ตรงนี้ก็หมายความว่าใช่ปัญญาชนจะซื่อบื้อไปหว่าชาวรากหญ้ามิได้เสียเมื่อไหร่ หรือถ้าจะมองในมุมของกฤษณะมูรติ นักปราชญ์ร่วมสมัยชาวอินเดียผู้ที่กว่าวว่า ‘ปวงความรู้นั้นคือพันธนาการ’ ก็คงยิ่งไม่ต้องกว่าวอะไรถึงความเป็นไปได้ในการสลับขั้วกันซึ่งปัญหาโลกแตก แดร์ริดาเองก็เคยโต้ไว้ว่าการที่เราเห็นความไม่มีอยู่นั้นไร้ค่า มันเป็นเพราะเรายึดกับความมีอยู่ของสิ่งต่างๆ ให้เป็นสถานะหลักของการตีความ (metaphysics of presence) ในความเป็นจริงกระแสหลัก ดังนั้น โลกใบนี้จึงไม่มีพื้นที่ให้กับความไม่มีอยู่ ถ้าจะมองว่าวาทกรรม ‘ปัญญาชน คนรากหญ้า’ เป็นหนึ่งในลักษณะที่เรียกว่า Binary Opposition กลายๆ ก็คงไม่ผิดอะไร มีขาวก็ต้องมีดำ มีไร้ก็ต้องมีซึ่งดำรง มีร้อนก็ต้องมีหนาว มีฉลาดก็ต้องมีโง่ และที่สำคัญมีคนรากหญ้าก็ต้องมีฝ่ายตรงข้าม เพียงแต่ตรงนี้เราอาจต้องพิจารณาให้ดีว่าทุกคู่ตรงข้ามมีความสอดคล้องไปในทางเดียวกันทุกกรณีหรือไม่ ส่วนตัวผู้เขียนมองว่าไม่แน่นอน เนื่องจากคู่ตรงข้ามบางคู่นั้นก็มนุษย์เราเองนี้แหละ ที่เป็นคนสร้างสรรค์มันขึ้นมา ผู้เขียนไม่รู้ว่าจะปีติหรือเศร้าโศกดี ที่การทำรัฐประหารกันยา ๔๙ โดยตัวมันเองทำให้อภิมหาวาทกรรมนี้ก่อกำเนิดเกิดขึ้นมาในสังคมไทย กระบวนการ ‘วิภาษวิธี’ ที่กำลังรอการผลิดอกออกใบในทางการเมืองแต่ละยุคสมัยจึงจะได้เจริญเติบโตเร็วขึ้นกว่าเดิม ไปสู่จุดสัมบูรณ์เร็วขึ้นกว่าเดิม ว่าแต่มันมีอยู่จริงหรือ สิ่งที่เรียกว่า ‘ปัญญาชน คนรากหญ้า'” หรือเอาเข้าจริงแล้ว มันเป็นเพียงแค่ความฝันที่รอการตื่นเพียงวาทกรรมที่รอการชำระ หรือมันอาจจะเป็นเพียงอวิชชาของคนบางกลุ่ม” แน่นอนว่าท่านผู้อ่านคงต้องเคยขบคิดความหมายของวาทกรรมคู่ตรงข้ามนี้มาบ้าง ไม่มากก็น้อย ด้วยวิธีพิสูจน์ที่อาจใช้ระบบตรรกะเหตุผหรือว่าด้วยอารมณ์ความรู้สึก แต่ผลลัพธ์คือแน่นอนว่าการตีความวาทกรรมคู่นี้นั้นมิใช่เรื่องง่าย เนื่องจากมันหาได้ใช่ discourse ธรรมดาๆ แต่ถึงขั้นอภิมหา(grand) วาทกรรมที่มีเลือดวาทกรรมย่อยผสมกันอยู่มากสีเลยทีเดียว กล่าวคือวาทกรรม ‘ย่อย’ ในส่วนของ ‘ศีลธรรม’ (morality) ‘การศึกษา’ (education) และ ‘อุดมการณ์’ (ideology)   วาทกรรม ‘คลั่งศีลธรรม’ ของคนเมือง (หรือชนชั้นกลาง) ถ้าลองสังเกตอัตราความเคลื่อนไหวในทางการเมืองในแต่ละขณะ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันให้ดีแล้ว จะเห็นได้ว่าวาทกรรมทายาท (คลั่ง) ‘ศีลธรรม’ (ศัพท์โดย สฤณี อาชวนันทกุล) เพิ่งจะถูกคลอดออกมาให้เห็นเด่นชัดในช่วงยุครัฐบาลคุณทักษิณนี่เอง (กล่าวคือก็น่าแปลกดี ที่แม้แต่การเมืองในสมัยเดือนตุลา ซึ่งถูกแฝงไว้ด้วยความโหดร้ายทารุญอย่างยิ่งกลับไม่ส่งผลให้วาทกรรมที่ว่านี้เด่นชัดเท่า) คำชมคลาสสิกที่เรามักจะได้ยินเกี่ยวกับกิตติศัพท์ของคุณทักษิณก็เช่นว่า ‘ไอ้โกงบ้านโกงเมือง’ (จากแนวคิดชนชั้นกลางทั่วไป) ‘มันจะซื้อประเทศเราไปแล้ว’ (จากเพื่อนผู้เขียน) ‘ระบอบทักษิณ’ (ขอยืมลิขสิทธิ์ อ.เกษียร เตชะพีระ (สมัยก่อน)) ‘ไอ้สมบูรณาญาสิทธิทุน’ (อ้างอิง ส.ว.คำบุญ สิทธิสมาน) ‘เสื้อคลุมประชาธิปไตย เนื้อในเผด็จการ’ (อ้างอิง อ.บรรเจิด สิงคะเนติ) ฯลฯ ผู้เขียนเองคงไม่วิจารณ์อะไรกับคำวิจารณ์ ด่าทอตรงนี้ เพียงแต่ผู้เขียนมองว่ามันมีประเด็นที่พิลึกพิลั่นบางอย่างที่ควรจะถูกนำเสนอเท่านั้น ประเด็นแรกก็คือว่าผู้พูด หรือผู้หยิบยืมวลีประโยคเหล่านั้น (ส่วนมาก แต่อาจไม่ทั้งหมด) หาได้รู้อะไรเลยเกี่ยวกับข้อเท็จจริงต่างๆ ในเนื้อหาทางกฎหมาย การเมือง และความรู้พื้นฐานทางด้านประวัติศาสตร์ไทย คำถามจึงมีอยู่ว่า แล้วคนกลุ่มที่ว่านั้นเขาด่าทำไม เขาด่าไปด้วยเหตุผลอะไร” คำตอบอย่างพื้นฐานที่สุดก็คือเพื่อจะแสดงให้เห็นว่า “ฉันเป็นคนอี มีศีลธรรม” “ไอ้พวกโกงบ้านโกงเมืองฉันรับไม่ได้หรอก” ดังนั้นแล้วการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ หาข้อเท็จจริง จึงหาได้มีความสลักสำคัญอะไรเท่ากันการแสดงตัวตอนและจุดยืนตามกระแสสังคมเท่านั้น (persona จากแนวคิดของ คาร์ล ยุงค์) ข้อสังเกตที่ตามมาจึงมีอยู่ว่า แล้วรัฐบาลบางรัฐบาลทีีขึ้นชื่อว่ามีการทุริตคอร์รัปชั่นสูงทีุ่สุดในประวัติศาสตร์ไทยนั้นเท่าที่เคยปรากฏมานั้น ด้วยเหตุใดจึงไม่โดนกล่าวหาในลักษณะเดียวกัน จากคนกลุ่มเดียวกันเล่า” ตรงนี้ก็พูดได้ว่าเป็นภาพต่อในนัยยะเดียวกัน สอดคล้องกัน กล่าวคือ ‘ความดูดี มีชาติตระกูล(เก่าแก่)’ สำหรับคนไทยนั้นถือว่ามีชัยไปกว่าครึ่งในทุกวงการ เมื่อมีสิ่งที่ว่านี้แล้ว เกราะหุ้มในเรื่องศีลธรรมความดีก็ตามมาเอง เมื่อมีสิ่งที่เรียกว่า “คนดีมีชาติตระกูล” แล้วจึงเป็นเรื่องปกติที่ต้องมีสิ่งที่ถูกนิยามให้อยู่ตรงกันข้าม ถ้าจะพูดกันในเชิงสัญลักษณ์ ฝ่ายที่ว่าก็คือ “สีแดง” (ไพร่) นั่นเอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคนส่วนใหญ่ตัดสินสิ่งที่เรียกว่า “ศีลธรรม” ด้วยวัฒนธรรมประเพณี ด้วยปัจจัยภายนอก และอารมณ์ความรู้สึก พื้นที่ “ความเป็นคนดี” จึงไม่มีเหลือให้เพื่อนมนุษย์อีกฝ่ายสามารถถลำกล้ำกรายเข้ามามีส่วนร่วมได้ ซึ่งตรงนี้เอง ที่ผู้เขียนมองว่ามีความพิลึกพิลั่นจนสุดจะพรรณนา กล่าวคือเราไม่ตัดสินคนด้วยบรรทัดฐานของปรัชญาความรู้ แต่กลับตัดสินคนด้วย “ความเป็นเขา” (you are wrong because you have been, not what you have done) อย่างง่ายๆ และหยาบๆ เพียงแค่นั้น ถ้าเขาดี เขาก็จะดีเสมอไป ถ้าเขาจะสง่า ก็จะสง่าเสมอไป ถึงเขาจะฆ่าคนเกินกว่าเก้าสิบศพ เขาก็เป็นคนดี ถึงเขาจะทำการทุจริตคอร์รัปชั่น แต่เขาเป็นคนมีสง่าราศีชาติตระกูล ถึงเขากระทำการยึดอำนาจรัฐประหาร เขาก็ยังคงไว้ซึ่งศีลธรรม ในขณะที่กลุ่มคนอีกพวกหนึ่งนั้นไร้ซึ่งปัญญาและศีลธรรมยิ่งนัก มันเป็นฝ่ายซ้าย มันเป็นคอมมิวนิสต์จำแลง มันเรียกร้องระบอบประชาธิปไตย มันจะสืบทอดเจตนารมณ์ของคณะราษฎร มันจะแก้รัฐธรรมนูญฉบับรัฐประหาร มันจะโค่นอำมาตย์ (ขุนนางและผู้มีอำนาจเก่า) เพื่อให้ประชาชนทุกคนมีสิทธิและเสรีภาพเท่าเทียมกันในสังคมตามธรรมสภาพสัจจะความเป็นจริง และที่สำคัญ มันผิดเพราะเป็นคนรากหญ้า เป็นคนชนบทเป็นคนที่ไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร   วาทกรรมการศึกษาของ “คนเดินทองหล่อ” กับ “คนหลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน” ท่าน ส.ศิวรักษ์ เคยกล่าวเอาไว้ ณ รายการคุณภิญโญ เกี่ยวกับเรื่อง “ประชาธิปไตย” ตอนหนึ่งว่า “ประชาธิปไตยนั้น เป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน” โดยส่วนตัวผู้เขียนเองเห็นว่าประโยคที่ว่ามีความหมายลึกซึ้งยิ่ง เพราะในเมื่อประชาธิปไตยนั้นเป็นเรื่องการปกครอง “โดยประชาชน ของประชาชน และเพื่อ ประชาชน” (อ้างอิง อับราฮัม ลินคอล์น) แล้ว ฉะนั้นประเด็นเรื่องการศึกษาจึงมิใช่ประเด็น (หรือมิควร) ที่จะมากำหนดทิศทางประชาธิปไตยของบ้านเมืองในฐาน “วาทกรรมหลัก” แต่อย่างใด ก่อนอื่นถ้าเราลองคิดดู เราจะเห็นว่าเรื่องของ “ช่องว่าง” หรือ “ความห่าง” ในระดับขั้นของการศึกษามักจะถูกหยิบขึ้นมาเป็นประเด็นหลักในทางการเมือง (ภาคประชาชน”) เสมอมา ทั้งในรูปของการนำเสนอแบบรูปธรรม (เช่นเรื่องของลำดับศักดิ์ปริญญา หรือการแสดงความรู้ทางเทคโนโลยีใหม่ๆ) หรือในรูปแบบของการนำเสนอเชิงสัญลักาณ์ (เช่น การแปรความหมายทุกอย่างให้เป็นไปในแง่ต่ำต้อยตลอดเวลาเมื่อกล่าวถึงคำว่า “ชนบท”) หรือถ้าจะลองพิจารณากันตามแนวคิด difference ของแดร์ริดา ก็เป็นไปได้ที่ “ความหลากเลื่อน” น้ำจะโยงไปถึงการสร้างวาทกรรมคามต่างระหว่างวัฒนธรรมเพลงป๊อปอัลเทอร์กับเพลงลูกทุ่ง (ซึ่งมีศักดิ์ด้อยกว่า) เสียด้วยซ้ำ จะอย่างไรก็ตาม คำถามตรงนี้ก็คือ เรื่องแบบนี้มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร และอะไรที่นับได้ว่าเป็นจุดผิดพลาดที่ใหญ่ที่สุดในเรื่องนี้” คำตอบที่ชัดเจนที่สุดอาจตอบได้ว่า มันเป็นเรื่องความคิด (อาจนับได้เป็นวาทกรรมหนึ่ง) ทาง “ชนชั้น” (classes) ที่ยังฝังรากแน่นอยู่ในสังคมไทยนั่นเอง และโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้คนที่ได้แสดงออกทางความคิดในรูปแบบนี้ (ส่วนมาก) ยังหาได้รู้ความนัยและที่มาของการแสดงออกเหล่านั้นของตนเลย พวกเขาหารู้ไม่ว่าการพูดถึงความต่าง (โดยไม่รู้ตัว) ของเรื่องวัฒนธรรม การศึกษา ชาติพันธุ์ ภาษา ล้วนมีต้นตอมาจาก “อคติ” (bias) ที่เกิดจากระบบชนชั้นทั้งสิ้น ในทำนองเดียวกัน ถ้ามองในมุม “การครอบงำ” (hegemonic power) ของวาทกรรมกระแสหลัก ก็จะเห็นได้ว่ามันจะแสดงออกในรูปของ binary opposition (ที่ได้เกริ่นไปแล้ว) อยู่เสมอ เช่นการตัดมิติกันของเรื่อง เมือง/ชนบท ภาษากลาง/ภาษาอีสาน ปัญญา/แรงงาน ผู้นำ/ผู้ถูกกดขี่ ไฮโซ/โลโซ ทองหล่อ/หนองหอย คอนกรีต/ดินแดง ไวน์แดง/เหล้าขาว ฯลฯ กล่าวสรุปตรงนี้อย่างง่ายๆ ก็คือว่า ไม่ว่าเหตุผลของอีกฝ่ายจะเป็นอย่างไร แต่ในเมื่อวาทกรรมเหล่านี้ได้ครอบงำและฝังรากลึกอยู่ในสังคมอย่างแทบจะถาวรแล้ว ทุกอย่างจึงถูกฟูลล์สต๊อปป์อยู่ที่เดิม และเนื่องด้วยที่มาเหล่านี้เอง จึงทำให้คนจบมหาวิทยาลัยปีสีที่เดินอยู่ตามซอกซอยถนนทองหล่อ กับคนจบระดับชั้นเดียวกันแต่กลับไปช่วยแม่อยู่ตามคันนา กลับมีศักดิ์และชนชั้นในทางการเมืองที่แตกต่างกันโดยอัตโนมัติเนื่องจากพื้นฐานของการคอบงำ และแน่นอนว่าปราศจากการใช้ซึ่งปรัชญาและตรรกะเหตุผลในการพิจารณาแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนจะขออธิบายเรื่องการศึกษาและประชาธิปไตยอีสักหน่อย กล่าวคือที่ท่าน ส. พูดมานั้น ความหมายที่แท้จริงคืออะไร การตีความควรจะเป็นไปในทิศทางไหน” ตรงนี้ผู้เขียนมองว่าชื่อของระบบก็สามารถพูดได้โดยตัวของมันเองอยู่แล้ว กล่าวคือประชาธิปไตยเป็นเรื่องของการลงความเห็นชอบ (ใช้อำนาจอธิปไตย) โดยคนส่วนใหญ่ของประเทศ ดังนั้น เรื่องการด่าทอว่าใครฉลาดหรือโง่กว่าใคร เรื่องตระกูลใครเก่าแก่กว่าใคร เรื่องใครเป็นอำมาตย์ใครเป็นชาวบ้าน จึงเป็นเพียงสิ่งที่ปรุงแต่งอยู่นอกระบอบเท่านั้น ตรงนี้สำคัญอย่างไร” ตรงนี้สำคัญที่ว่าก่อนที่ระบอบประชาธิปไตยจะเริ่มผลิบานได้นั้น “ความเท่าเทียม” กันทั้งในเรื่องของสิทธิและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ควรจะทำให้เกิดมีขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรมเสียก่อน (ผู้เขียนคิดว่าตอนนี้ยังไม่มี) ทุกคนมีหนึ่งเสียงที่ทรงพลังเท่าๆ กัน และเมื่อเรายอมรับในปัจจัยที่เป็นสัจจะนั้นได้แล้ว ประชาธิปไตยที่แท้ก็จะถึงเวลาเรียนรู้ความถูกต้องและความผิดพลาดในตัวของมันเอง (ตามกระบวนการ “วิภาษวิธี”) ได้อย่างมีคุณภาพ (อ้างอิง อ.วีรพัฒน์ ปริยวงศ์) เพราะถ้าไม่เช่นนั้นแล้ว เราอาจจะต้องเห็นความเขลาที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ไปตลอดกาลนาน ในนามแฝง “ประชาธิปไตยแบบไทยๆ” ที่มีแต่คนหน้าตาดี คนชั้นสูง หรือนักวิชาการฝ่ายขวา (ฌอง ปอลล์ ซาร์ตร์เคยบอกว่าปัญญาชนที่แท้ คือฝ่ายซ้ายเท่านั้น) ออกมาพูดนู่นพูดนี่ ดูดีมีหลักการ แต่เอาเข้าจริงก็แก้ไขอะไรไม่ได้สักอย่าง ดังที่เคยปรากฏอย่างชัดแจ้งมาในทุกยุคทุกสมัย   ประชาธิปไตย : อุดมการณ์ ปฏิบัติ หรือละอองดาว เมื่อไม่นานมานี้ เพื่อนของผู้เขียนคนหนึ่งเคยกล่าวกับผู้เขียนว่า “ประชาธิปไตยยังไม่เหมาะกับเมืองไทยหรอกว่ะ” ผู้เขียนตอบ (ในใจ) ทันควันว่า “ก็ในเมื่อมันยยังไม่ทันเกิด แล้วมันจะเหมาะได้ยังไงวะ” ที่ผู้เขียนเกริ่นมาแบบนี้ก็ไม่ใช่อะไร เพียงแต่ผู้เขียนต้องการจะสื่อว่ามิใช่เพราะว่าคำพูดเทือกๆ นี้หรอกหรือ ที่เป็นนัยยะได้อย่างดีในการไม่ยอมรับหลักการของประชาธิปไตยที่เราๆ ท่านๆ ต้องการ มันมิใช่เราพคำพูดประมาณนี้หรอกหรือ ที่สื่อถึงการไม่ยอมรับความแตกต่างทางความคิดของมนุษย์ (นานาจิตตํ) ซึ่งเป็นต้นเหตุให้ต้องมีการยกเหตุยกผลนอกระบบมาโต้แย้งอยู่เสมอ ท่าน ส.ศิวรักษ์เคยกล่าวเอาไว้ว่า “ก็เพราะคนเหล่านั้นมันกลัวประชาธิปไตย” ผ่านรายการทีวีรายการหนึ่ง โดยส่วนตัวผู้เขียนเห็นว่านี้เป็นเหตุผลที่ดี ถึงแก่น และแทงใจดำทีเดียว คำถามตรงนี้มีอยู่ว่าแล้วเมื่อไหร่ระบอบประชาธิปไตย “ที่แท้” (หลังจากฝ่าฟันขวากหนามมาแล้วถึงแปดทศวรรษ) จะผลิบานเสียที” เมื่อไหร่ที่มนุษย์ทุกผู้ทุกนามจะเคารพความแตกต่างทางความคิด และเคารพในสิทธิขั้นพื้นฐานตรงนี้ซึ่งกันและกันเสียที” คำตอบี่ชัดเจนที่สุดก็คือ เมื่อมนุษย์สามารถดำรงอยู่ในสังคมได้โดยปราศจากซึ่งความกลัวนั่นเอง คำถามต่อมาก็คือแล้วที่ว่ากลัวนั่น กลัวอะไร” ตรงนี้ก็สามารถตอบได้ว่ากลัวว่าคนอื่นจะคิดไม่ถูก คิดไม่เหมือนตน กลัวว่าความคิดของคนอื่นนั้นจะไม่เป็นไปในตามขนบธรรมเนียมประเพณีที่เคยปูกันมา (อย่างแนบเนียบ) แม้ว่าความคิดเหล่านั้นจะมาจากคนส่วนใหญ่ของประเทศก็ตาม กลัวว่าคนอื่นจะไม่ฉลาดเหมือนตน และที่สำคัญที่สุด กลัวว่าคนอื่นนั้นจะไม่เข้าใจความหมายของระบอบประชาธิปไตยเช่นเดียวกับตน คำถามในขั้นนี้ก็คือ แล้วมิใช่เพราะสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “มนุษย์” นั้นเองหรอกหรือ ที่ไม่มีทางที่จะมีความคิดอ่านต่อสิ่งๆ หนึ่งเหมือนกันได้ทั้งประเทศ (เป็นสัจจะทุนเดิม) อุดมการณ์ประชาธิปไตยจึงเปรียบได้ดั่ง “อุดมคติ” (ideology) ที่เป็นกลางและเป็นธรรมที่สุด ในการปกครองหมู่สัตว์โลกให้สามารถดำรงอยู่ร่วมกันได้ (ด้วยการยอมรับและความเข้าใจ)” แน่ละว่าหากเลือกได้ ทุกคนคงอยากให้สังคมเรามีลักษณะที่เป็น Utopia อย่างปราศจากข้อสงสัย (ซึ่งแน่นอนว่าถ้าเป็นได้ คงกลายสภาพไปนานโขแล้ว) แน่ล่ะว่าถ้าหากเลือกได้ หมู่มวลมนุษย์ในประเทศแต่ละประเทศคงต้องการผู้นำ (ไม่ว่าจะในระบอบใด) ที่มีสถานะทางด้านความฉลาดเฉลียวและคุณธรรมดั่ง Philosopher King (ตามแนวคิดผู้ปกครองที่ของเพลโต) แต่ในเมื่อความเป็นจริงของมนุษย์ สังคม และการเมืองมันเป็นอย่างนี้ แล้วด้วยเหตุผลกลใดเล่า จึงมีวลีที่น่าขัดที่สุดเฉกเช่น “เผด็จการเสียงข้างมาก” หรือ “เสียงข้างมากลากไป” โผล่ขึ้นมา ณ ใจกลางจักรวาลระบอบประชาธิปไตยได้ สิ่งที่น่าท้อใจที่สุดในเรื่องประชาธิปไตยต่อสังคมไทยก็คือคนมากกลุ่มนั้นเอาแต่อ้างเรื่องอ้านราวกันแต่ในทางทฤษฎี อ้างตำราเล่มนั้นเล่มนี้ ซึ่งยางทีก็ผิดๆ ถูกๆ ไปตามเรื่อง ผู้เขียนเห็นด้วยกับนักกฎหมายอิสระอย่าง อ.วีรพัฒน์ ปริยวงศ์ เป็นที่สุด ที่ให้ความเห็นไว้ว่า การเติบโตของระบอบประชาธิปไตยนั้นต้องอาศัยเวลา และที่สำคัญมันหาได้ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด ที่บางทีเราต้องยอมเจ็บเนื้อเจ็บตัวหรือปวดใจกันบ้าง ด้วยเหตุว่าไม่มีประเทศใดในโลกใบนี้ที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ทว่าสามารถผลิดอกออกผลได้ในช่วงเวลาอันสั้น แต่ประเด็นสำคัญคือใช่หรือไม่ ว่าเราต้องยอมรับความแตกต่างในทุกๆ ด้านกันให้ได้เสียก่อน (เช่นเรื่องของ อัตลักษณ์ สายพันธุ์ รากเหง้า ต้นตระกูล ความคิดอ่าน ฯลฯ) ประเด็นสำคัญคือใช่หรือไม่ ที่เราต้องเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (ในฐานะสัตว์โลกที่อยู่ร่วมกันในสังคม) กันให้มากกว่านี้ มิใช่เอะอะอะไร ก็กล่าวหาว่าอีกฝ่ายนั้นโง่ อีกฝ่ายนั้นไม่รู้เรื่อง (เอาดัชนีใดมาชี้วัด”) เพราะมิเช่นนั้นแล้ว ประชาธิปไตยที่มนุษย์ไทยทุกผู้ทุกนามไฝ่หาก็อาจจะกลายเป็นเพียงความเวิ้งว้างว่างเปล่า หรือถ้าจะยัดเยียดให้มองในทัศนะเชิงบวกมากกว่านี้สักหน่อย ประชาธิปไตยที่ได้มา ก็คงเป็นได้มากที่สุดเพียงวาทกรรมปาหี่วาทกรรมหนึ่งเท่านั้น จะคว้าดาวดวงใดก็คว้าน้ำเหลว ถ้าจะได้ ก็คงได้เพียงเศษละอองของมันเท่านั้น ผู้เขียนขอจบด้วยคำจากท่าน ส.ศิวรักษ์ ที่กล่าวว่า “การที่ชนชั้นบนแลเห็นว่าชนชั้นล่างโง่เขลาเบาปัญญา ย่อมยากที่ชนชั้นบนจะเห็นคุณค่าของประชาธิปไตยด้วยประการใดๆ ทั้งสิ้น”

Source : นิตยสารปาจารยสาร ปีที่ ๓๖ ฉบับที่ ๓ กันยายน-พฤศจิกายน ๒๕๕๕